หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ออกแบบของเล่นสำหรับฝึกพัฒนาการเด็กอายุ 3-6 ขวบ : โรงเรียนสาธิตมหาหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม พ.ศ. 2555

ศึกษาเรื่องที่ชอบและสนใจ
Ø  ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กก่อนเข้าเรียนว่ามีพัฒนาการในการเรียนรู้มาก น้อยแค่ไหน แล้วเราจะสามารถสอนเขาได้อย่างไร
·         พัฒนาการของเด็กวัย 3 – 5 ปี มีความสำคัญแก่ชีวิต เพราะเป็นการวางรากฐานให้แก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ วัยนี้เป็นวัยที่มีพัฒนาการทุกด้านเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านสมอง ซึ่งเจริญประมาณ 80 % ของชีวิต ดังนี้นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจึงต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กและสามารถจัดการเลี้ยงดูให้เหมะสม เด็กจึงจะสามารถพัฒนาความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่
·         เมื่อเด็กอายุเข้าขวบปีที่ 3 เด็กจะมีพัฒนาการด้านต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก ลักษณะทางด้าน ร่างกายแบบทารกที่มีรูปร่างอ้วนกลมจะค่อยๆ หายไป เด็กจะเริ่มมีรูปร่างผอมและแขนขายาวขึ้น เด็กวัยนี้จึงมีการ เคลื่อนไหวที่คล่องแคล่วและเข็งแรงมากขึ้น เด็กสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของตนในด้านต่างๆ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ เด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่างๆ รอบตัวเขา พูดได้มากขึ้น สนใจในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รู้ถึงความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย วัยนี้เด็ก มีอารมณ์รุนแรง เอาแต่ใจตัว เริ่มรู้จักอิจฉาน้องหรือคนอื่น ผู้เลี้ยงดูเด็กควรสอนและเป็นแบบอย่าง ในการ แสดงออกของอารมณ์และการหาทางออกที่เหมาะสม ควรตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก และส่งเสริม พัฒนาการทุกด้านของเด็ก เพื่อให้เด็กมีบุคลิกลักษณะพิเศษของแต่ละคน หรือที่เรียกว่า บุคลิกภาพ และพร้อม ที่จะออกสู่สังคมนอกบ้าน ช่วงวัยนี้เป็นเวลาที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง เพราะเป็นระยะที่เด็กเรียนรู้มากที่สุดในชีวิต เด็กจะเป็นคนอย่างไรในอนาคตนั้นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในช่วงปฐมวัย และจะเปลี่ยนแปลงได้ยากเมื่อเจริญเติบโต ขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรรู้ในเรื่อง

1. พัฒนาการด้านร่างกายและการเจริญเติบโต
2. พัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์
3. พัฒนาการด้านสังคม
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
Ø  พัฒนาการและจิตวิทยาเด็กอายุ 3-5 ปี
·         เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความคิดและความเข้าใจของเด็ก ซึ่ง สามารถพัฒนาให้เพิ่มมากขึ้นด้วยการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เด็กวัย 3-5 ปี จะเรียนรู้ด้าน คำศัพท์และภาษามากขึ้น เด็กวัยนี้ช่างซักถาม อยากรู้ อยาก เห็น เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการกระทำและการใช้ประสาทสัมผัส ของเด็ก คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง มีความคิดและเหตุผล ที่ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเด็กต้องเรียนรู้จากของจริง พ่อแม่หรือ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ต้องพยายามให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กพัฒนาการคิดและการแก้ปัญหา
Ø  การเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กอายุ 3 – 5 ปี
·         พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่าง รวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่องความสูงและน้ำหนัก การเพิ่มของ น้ำหนักเกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ ในตอนต้นของวัยนี้ สัดส่วนของร่างกายเปลี่ยนแปลงใกล้ เคียงกับผู้ใหญ่มากขึ้น กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวดี ขึ้น เด็กจึงชอบวิ่ง กระโดด ไม่หยุดนิ่ง ชอบเล่น กระโดด 2 เท้า คล่องขึ้นการหยิบจับและการช่วยเหลือตนเอง สามารถควบคุมและบังคับการทรงตัวได้ดี ทำให้เด็กวัยนี้ พร้อมที่จะทำกิจกรรมเกี่ยวกับการออกกลัง การเล่นกลางแจ้ง การใช้มือก็มีความละเอียดขึ้น เด็กสามารถแต่งตัวเองได้ หวี ผม แปรงฟันได้เอง และสามารถช่วยทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้
Ø  พัฒนาการการเล่นของเด็ก 2-3 ปี
Ø  การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นสิ่งสำคัญควรจะต้องคำนึงถึงระดับอายุ และความชอบของเด็ก ของเล่นบางชนิดอาจจะเหมาะกับเด็กคนหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับเด็กอื่น เด็กส่วนใหญ่จะไม่สนใจของเล่นที่ยากเกินไป ฉะนั้นการเลือกของเล่นจึงควรเริ่มต้นจากของเล่นง่ายๆ ค่อยเปลี่ยนเป็นยากขึ้น โดยไม่ทำให้เด็กรู้สึกขาดความมั่นใจ พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะซื้อของเล่นที่ยากเกินไปสำหรับเด็กที่เริ่มเล่น ซึ่งทำให้เด็กตื่นเต้นในของใหม่ได้ไม่นาน ดีที่สุดควรเลือกต่ำกว่าอายุเล็กน้อย
Ø  ในขณะที่เด็กเล่น เด็กจะต้องผ่านการรับรู้ข้อมูลต่างๆ อาทิ เช่น สิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก เช่น การเอาแท่งไม้มาต่อให้เป็นรูปตึก เด็กเรียนรู้ไปพร้อมกันว่า เขาจำเป็นต้องเลือกแท่งไม้ชนิดใดๆ จะสร้างรูปแบบ อย่างไร จะต้องจะต้องเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดๆ ทำอย่างไรจึงจะควบคุมให้มือเคลื่อนไหวได้เบาทีสุด เพื่อที่หอคอยจะได้ไม่ล้มทลายลงมา การเคลื่อนไหวสายตาไปทางซ้ายหรือขวา จะสามารถบอกให้เด็กรู้ว่าเขาควรจะวางแท่งไม้อย่างไร จึงจะสมดุลเพื่อให้ได้หอคอยสูงที่สุด ถ้าวางไม่ตรงจะเกิดอะไรขึ้น หรือถ้าดึงเอาก้อนไม้ที่อยู่ชั้นล่างสุดออกมาจากหอคอยจะเป็นอย่างไร แต่ละขั้นตอนล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทักษะในหลายๆ ด้านและเป็นพื้นฐานเพื่อก้าวไปสู่วัยเรียนในเวลาต่อมา
Ø  เนื่องจากการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการในเด็ก ผู้ใหญ่จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยการสอนให้เด็กรู้จัดเล่น นอกจากช่วยให้เด็กสนุกสนานกับการเล่นแล้ว ยังช่วยในการพัฒนาด้านภาษา ทำให้เด็กรู้จักใช้จิตนาการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนเรียนรู้การสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกเหนือจากบุคคลในครอบครัว เป็นการเสริมสร้างทักษะทางสังคมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการใช้ชีวิตร่วมกัน เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการปรับตัว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

ประเดนของปัญหา
ราคาค่าอุปกรณ์
ขั้นตอนในการเรียบเรียง
การเข้าเล่มรูปแบบของการเล่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น