หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อมูลเพิ่มเติม

แลคเกอร์ การเคลือบผิวไม้ยอดนิยม (Lacquer)

เป็นสารสังเคราะห์ที่แก้ปัญหาของ Shellac มันทนน้ำ ความร้อน ความชื้น เคมี กรด ด่าง มากกว่า Shellac และมี สองแบบ

Nitrocellulose Lacquer เป็นชนิดที่ใช้กันทั่วไป
Cellulose Lacquer บางทีเรียก Water White มีความเหลืองน้อยกว่า และแพง ไม่นิยม

Nitrocellulose Lacquer

เป็นส่วนผสมของ Nitrocellulose, Resin, Plasticizers ซึ่งส่วนผสมจะแตกต่างไปตามแต่ ผู้ผลิตจะผสมทำให้ การแห้ง ยืดหยุ่นต่างกันไป คุณสมบัติที่สำคัญ ของ Lacquer ขึ้นกับ อัตราการแห้ง ของ Lacquer มากกว่าส่วนผสมที่เติมลงไป การแห้งเกิดจาก Solvent ที่ละเหยออกไป นั่นคือ Thinner Lacquer ซึ่ง มันถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานแบบพ่นมากว่า เพราะมันแห้งเร็ว การแข็งตัวของ Lacquer ไม่มีการ Cross Link ดังนั้นการทนความร้อน เคมี ด่าง จึงไม่เท่า Varnish แต่มากกว่า Shellac

สิ่งที่ทำให้ Lacquer เป็นที่นิยม

สามารถใช้วิธีการพ่นได้ง่าย
การแห้งที่รวดเร็ว สามารถทาได้วันหนึ่ง 3-4 รอบ
มี Solvent เป็น Thinner Lacquer ที่แตกต่างกัน สามารถ เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติให้กับ Lacquer ได้
Film ที่ได้มีความใสให้ความรู้สึกลึก
สามารถที่จะขัดเงาได้ดี
สามารถดัดแปลงได้ หลายสูตร การใส่สีลงไปก็ได้ นอกจากนี้ชิ้นงานที่ได้เหมือนทา Wax หรือ Oil
ราคาถูก รักษาเนื้อไม้ได้ดีกว่า Shellac ป้องกันความชื้น ความร้อน สารเคมีได้ดีกว่า Shellac
Lacquer ที่ใช้กับ ไม้ไม่ใช่ที่ใช้กับรถยนต์หรือเหล็ก ที่ใช้กับรถยนต์จะเป็น Acrylic Lacquer ซึ่งจะแข็งมากกว่าและไม่ยืดหยุ่น แต่ไม้มีการหดตัว ขยายตัวอาจจะทำให้มีการแตกที่ผิวได้ ดังนั้นต้องพิจารณาอย่าใช้ผิดประเภทโดยเด็ดขาด
พลาสติกที่ตั้งบนผิว Lacquer นาน ๆ อาจติดยึดกับผิวได้ ต้องระวัง

คุณสมบัติของ Lacquer ขึ้นอยู่กับตัวทำละลายด้วย มันต้องละลาย และระเหยไปอย่างเหมาะสม มีสารละลายหลายชนิดที่ละลาย Lacquer อัตราการละเหยแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราสามารถควบคุมการระเหยโดยการใส่ Solvent ที่แตกต่างกันออกไป

สารละลายที่ผู้ผลิตมักใช้โดยทั่วไปมี 3 แบบ
Standard Lacquer Thinner อัตราการระเหยเป็นปกติที่รู้จักกันดี
Lacquer Retarder ซึ่งอัตราการระเหยจะช้ากว่า Standard
Fast Lacquer Thinner จะระเหยเร็วกว่า พวก Standard กลุ่มนี้ไม่ค่อยนิยมใช้ หายาก

โดยปกติแล้วเมื่อเราซื้อ Lacquer Thinner มาแล้วเราต้องการให้การระเหยช้าเราต้องใส่พวก Retarder ลงไป
ในการทำงาน กับ Lacquer เราเปลี่ยนแปลงตัว Thinner -เพื่อให้เหมาะสมกับ
สภาพอากาศ ความชื้นและอุณหภูมิ ประมาณซัก 22-25 องศา กำลังเหมาะความชื้นไม่เกิน 40
อัตราการไหลของ Lacquer เพื่อลดการเกิดอาการแบบเปลือกส้ม
เพื่อทำให้ผิวโดยรวมยังเปียกอยู่ในขณะที่คุณยังพ่นผิวงานไม่เสร็จ

เพื่อลดความเร็วในการแห้งแข็งเพื่อจะได้ทาให้ทัน
Fish Eye เป็นความผิดพลาดของการทา Lacquer แบบหนึ่ง ไม่สามารถแก้ได้ด้วยวิธีเปลี่ยน Thinner ซึ่งจริงๆ แล้วอาจเกิดกับ Finnish เกือบทุกชนิดยกเว้น Shellac สภาพอากาศที่ร้อน อบอ้าว Standard Thinner จะละเหยเร็วการไหลของ Lacquer แทบไม่มี ทำให้เกิดอาการแบบผิวส้ม หรือ ผิวดวงจันทร์ มีหลุมกลม ๆ อยู่บนผิวงาน ดังนั้นเราอาจต้องลดอัตราการระเหยลง หรือใช้วิธีปรับแต่งปืนพ่น Spray อากาศที่ชื้น การระเหยช้า ผิวงานอาจจะมีฝุ่นมาจับมาก อาจต้องเปลี่ยนเอา Thinner ที่ระเหยเร็วขึ้น ไม่มีกฎตายตัวในการผสม Retarder ขึ้นกับว่าต้องการให้ช้าเร็วแค่ไหน

Fish Eye ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มี Silicone บนผิวงานเก่า ซึ่งเคยทาด้วย Lubricant ที่มีส่วนผสม silicone และมันได้แทรกตัวเข้าไปตามร่องรู ในเนื้อไม้ และไม่สามารถกำจัดได้หมด และมันทำให้เกิด Fish Eye ในชั้นแรก ๆ ทาพอหลังจากนั้นก็จะหายไป

วิธีแก้ที่ดีคือการใช้ Lacquer Thinner เช็ดผิวงานก่อนทา เพื่อกำจัด Silicone
Seal ผิวงานใหม่
ขัดออกแล้วดูดฝุ่นออกด้วย
ลดแรงตึงผิวของ Finish ที่ใช้ทา
การใช้แปรงทา Lacquer
โดยปกติ Lacquer ถูกออกแบบ มาเพื่อใช้ Spray

การพ่น Lacquer

Lacquer ส่วนใหญ่แห้งเร็วเกินไปที่จะใช้แปรง ดังนั้นเราจึงใช้วิธีพ่น
1. จัดวางชิ้นงานเพื่อให้เรามองเห็นการสะท้อนของแสง
2. ทำการเจือจาง ด้วย Thinner ตามที่ผู้ผลิตระบุ จนรู้สึกได้ว่ามันเป็นหยด เมื่อยกไม้คนขึ้น
3. ชิ้นงานที่ผ่านการ Seal มาเรียบร้อยแล้ว
4. พ่นลงบนชิ้นงาน หลังจากทิ้งไว้แห้งดีแล้วต้องขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 280 เบอร์เดียวกับ ที่ขัดตัว Sealer และทางที่ดี รอบแรกควรทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วขัด แต่บางที 1- 2 ชั่วโมงเราก็ขัดได้แล้ว เพื่อเอา Fiber ขนเล็ก ๆบนผิวของไม้ออก การทิ้งไว้ข้ามคืนจะทำให้การขัดง่ายขึ้น
5. กำจัดฝุ่นออกให้หมด ต้องหมดจริง ๆ อาจใช้วิธีดูดฝุ่นออก
6. จากนั้น พ่นรอบต่อไป จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 280 หรือละเอียดกว่า แล้วกำจัดฝุ่น หากผิวเรียบเนียนดีการพ่นรอบต่อ ๆ ไป อาจจะไม่ต้องขัดอีก จนกว่าจะได้ความหนาที่ต้องการ
7. ในชั้นที่เป็น Finish ถ้าหากคุณขัด อาจจะไม่ต้องกำจัดฝุ่น สามารถพ่นทับได้เลย แต่ต้องเป็นกระดาษทรายเบอร์ละเอียดเท่านั้น อาจใช้เบอร์ 600 ได้เลย รอบสุดท้ายหากแห้งแล้วอาจขัดเงาได้ แต่ต้องแห้งสนิทจริง
ในการพ่นทับส่วนที่เป็น Top Coat ของ Lacquer อาจจะไม่ต้องรอให้ Lacquer แห้งสนิทก็พ่นทับได้ ต้องบางจริง เพราะ Lacquer จะไปละลายพื้นผิวเดิมบางส่วน ทำให้การยึดติดดีขึ้น



ฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์ (Phenol Formaldehyde : Bakelite)
ฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์ หรือเบกกาไลต์ เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมเซ็ตชนิดแรกที่รู้จักมานาน มีสีน้ำตาลคล้ายขนมปัง มีความแข็งและอยู่ตัว เรซินชนิดนี้มีทั้งที่เป็นของเหลวใส เหมาะสำหรับหล่อในพิมพ์และแบบที่เป็นผงสำหรับการขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ซึ่งชนิดหลังนี้มีสีน้ำตาลดำเพียงอย่างเดียว
สมบัติทั่วไป
- เนื้อแข็งคงตัว แต่เปราะ ทนทานต่อการผุกร่อน
- เป็นฉนวนไฟฟ้า
- ทนความร้อนได้สูง (๒๖๐ องศาเซลเซียส)
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์
ใช้ทำปลอกหุ้มคอยล์รถยนต์ แกนคอยล์ในเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ เปลือกเครื่องโทรศัพท์สมัยโบราณ ด้ามเครื่องมือช่าง หูหม้อ หูกระทะ ด้ามมีด ลูกบิลเลียด แผงวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กาวสารเคลือบผิว ตลอดจนใช้เป็นสารเติมแต่งในอุตสาหกรรมยาง

เด็กพิเศษ

ความหมาย ประเภท ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

          โดยสภาพทั่วไปในสังคมหากใครทำอะไร มีอะไร หรือปฏิบัติอะไรที่ไม่เหมือนกับสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคมเรามักจะเรียกบุคคลเหล่านี้ว่าเป็นคนที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งนี้เพราะสังคมยอมรับและมีบรรทัดฐาน (norm) ที่เป็นตัวกำหนด หรือคาดการณ์ไว้ว่าทุกคนจะต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ และบรรทัดฐานนี้เองจึงเป็นมาตรฐานให้สมาชิกของสังคมทำตามปฏิบัติตาม จนถือเป็นระเบียบแบบแผนแห่งพฤติกรรม หรือการกระทำของตน ดังที่เราคงจะเคยได้ยินได้ฟังเพื่อนๆ เรียกเราในบางครั้งว่าเป็นคนที่มีความ ต้องการพิเศษ เพราะเราทำอะไรได้บางอย่างไม่เหมือนเพื่อนๆ ในกลุ่ม

          สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นเราก็อาศัยบรรทัดฐาน (norm) ที่มีการศึกษาค้นคว้าและบันทึกเอาไว้ว่าเมื่อเด็กเกิดมาแล้วจะต้องมีอะไรมีลักษณะอย่างไร และสามารถปฏิบัติอย่างไรได้เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในสังคมบ้าง รวมไปถึงเรื่องของพัฒนาการหรือพฤติกรรมว่าเหมือนกับที่มีการศึกษาค้นคว้า
เอาไว้หรือไม่ หากเกิดมาและมีการเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานที่กำหนดไว้ เราก็มักจะมีเรียกตามลักษณะที่ขาดหายหรือตามที่บกพร่องไป เช่น เด็กตาบอด เด็กปัญญาอ่อน เด็กแขนด้วน ขาด้วน เป็นต้น นั้นเป็นการเรียกกันตามสภาพ ที่เห็นว่าไม่เหมือนคนทั่วไป แต่ในทางวิชาการเรามักจะใช้การเรียกรวมๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ดังนั้นหากจะจำกัดความของคำว่า เด็กที่มีความต้อง การพิเศษ จะพบว่า มีความหมายที่กว้างมาก ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้พยายามที่จะจำกัดความหรือให้ความหมายคำว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษเพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับการทำความเข้าใจว่า เด็กที่มีความต้องการ พิเศษจะต้องอยู่ในขอบเขต 3 ประการ คือ
  1. ความบกพร่อง (Impairmant) หมายถึง มีการสูญเสียหรือมีความผิดปกติ ของจิตใจและสรีระหรือโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย
  2. ไร้สมรรถภาพ (Disability) หมายถึงการมีข้อจำกัดใดๆ หรือการขาด ความสามารถอันเป็นผลมาจากความบกพร่อง จนไม่สามารถกระทำกิจ กรรมในลักษณะหรือภายในขอบเขตที่ถือว่าปกติ สำหรับมนุษย์ได้
  3. ความเปรียบเทียบ(Handicap) หมายถึงการมีความจำกัดหรืออุปสรรคกัด กั้นอันเนื่องมาจากความบกพร่องและการไร้สมรรถภาพที่จำกัดหรือขัด ขวางจนทำให้บุคคลไม่สามารถบรรลุการกระทำตามบทบาทปกติของเขา ได้สำเร็จ


          จากขอบเขตดังกล่าว คำว่า" เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" จึงหมายถึงการมีข้อจำกัดใดๆ หรือการขาดความสามารถอันเป็นผลมา จากการให้การช่วยเหลือและการสอนตามปกติทั้งนี้มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกายสติปัญญา และอารมณ์ จำเป็นต้องได้รับการ กระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด ฟื้นฟูและให้การเรียนการสอนที่เหมาะ กับลักษณะ และความต้องการของเด็ก
คำว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Children with special needs เป็น คำใหม่ และเพิ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้แล้ว ยังมีการให้คำนิยามเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตามลักษณะของการจัดให้บริการ โดยแยกลักษณะการให้บริการได้ดังนี้
1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ว่า เด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือ ผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกายหรือการสูญเสียสมรรถภาพเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำ เนินชีวิตของเขาทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ดีเท่ากับคนปกติ แต่หากมีการ แก้ไขอวัยวะที่บกพร่องไปให้สามารถให้งานได้ดังเดิมแล้ว สภาพความบกพร่อง อาจหมดไป
2. ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึงเด็กที่มี ความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการคือศึกษาให้ ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตรกระบวนการที่ใช้และการประเมินผล

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

องค์กรอนามัยโลก(WHO) แบ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษออก ดังนี้
1. แบ่งตามความบกพร่อง (Clssification of Impairment)
1.1 บกพร่องทางสติปัญญาหรือความทรงจำ (Intellegence or Memory Impairment) ปัญญาอ่อนเสียความทรงจำ ลืมเหตุการร์ที่ผ่านมาและปัจจุบัน
1.2 บกพร่องทางจิตอื่นๆ (Other Psychological Impairment) บกพร่องทางสติสัมปชัญญะหย่อนความสำนึก บพร่องทางความสนใจหรือการเข้าใจ นอนไม่หลับ
1.3 บกพร่องทางภาษาหรือการสื่อความหมาย (Language or Communication Impirment) พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด ไม่สามารถแสดงการติดต่อกับคนอื่นได้
1.4 บกพร่องทางการได้ยิน (Aural Impairment) หูตึง ได้ยินไม่ชัดเจนทั้งสองข้าง ได้ยินข้างหนึ่งและหนวกอีกข้างหนึ่ง
1.5 บกพร่องทางการมองเห็น (Ocular Impairment) เห็นไม่ชัดเจนทั้งสองข้าง บอดข้างหนึ่งเห็นเลือนลางข้างหนึ่ง
1.6 บกพร่องทางโครงกระดูก (Visceral Impairment) บกพร่องทางระบบหัวใจและการไหลเวียนของโลหิต บกพร่องทางระบบการย่อยอาหาร การขับถ่าย
1.7 บกพร่องทางโครงกระดูก (Skeletal Impairment) กระโหลกศรีษะ หัว ตัว แขน ขาไม่เป็นปกติ
1.8 บกพร่องทางแระสาทสัมผัส (Semsory Impairment) เสียความรู้สึกร้อน หนาว ความรู้ศึกลดน้อยกว่าปกติ สูญเสียความรู้สึกสัมผัส เจ็บ
1.9 อื่นๆ

2. ไร้ความสามารถ (Classification of Disabilities)
2.1 ไร้ความสามารถทางอุปนิสัย (Behaviour Disabilities) ไม่สามารถบอกเวลา สถานที่ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองตนเอง เสียความสัมพันธ์กับครอบครัว
2.2 ไร้ความสามารถทางการสื่อความหมาย (Communication Disabilities) พูดได้แต่ไม่เข้าใจพูดไม่รู้เรื่อง พูดไม่ได้เขียนหนังสือไม่ได้ อ่านไม่ได้
2.3 ไร้ความสามารถทางการดูแลตนเอง (Personal Care Disabilities) ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ เข้าส้วม แต่งตัว กินอาหารได้เอง
2.4 ไร้ความสามารถทางการเคลื่อนไหว (Locomotor Disabilities) เช่น เดิน วิ่ง ขึ้นลงบันได ไม่ได้ตามปกติ
2.5 ไร้ความาสามารถทางความคล่องแคล่วของอวัยวะ (Decterity Disabilities)ไร้ความสามารถ ในการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่สามารถใช้นิ้วมือกำของ ถือของ หรือไม่สามารบังคับการไช้เท้า บังคับร่างกาย
2.6 ไร้ความสามารถทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Disabilities)
2.7 ไร้ความสามารถในสถานการณ์ ( Situational Disabilities)

3. แบ่งตามการเสียเปรียบ (Classificatio of Handicap)
3.1 เสียเปรียบทางความสำนึก (Orientation Handicap) ไร้ความสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมไม่สามารถเกี่ยวข้องกับผู้อื่น
3.2 เสียเปรียบทางกาย ไม่เป็นอิสระต้องพึ่งผู้อื่น (Physical independence Handicap) โดยแย่งตามความรุนแรงของความพิการ คือต้องพึ่งผู้อื่นทุกอย่าง
3.3 เสียเปรียบทางการเคลื่อนไหว (Mobility Handicap) แบ่งตามความรุนแรงของความพิการ
3.4 เสียเปรียบทางด้านกิจกรรม (Occupation Handicap) แบ่งตามความรุนแรงของความพิการได้แก่ พึ่งตนเองในการทำกิจกรรมได้น้อยมาก
3.5 เสียเปรียบทางด้านสังคม (Social Integration Handicap) ไม่สามารถเข้าสังคมทั่วไปได้ไม่สามารถร่วกิจกรรมกับเพื่อน
3.6 เสียเปรียบทางสภาพเศรษฐกิจ (Economic Self sufficiency Handicap) ได้แก่ ไม่มีรายได้ มีรายได้เล็กน้อยแต่ไม่พอเพียงกับการรักษาพยาบาล

4. องค์การฟื้นฟูสมารถภาพคนพิการระหว่างประเทศได้กำหนดประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
4.1 ตาบอด มองเห็นเลือนลางหรือบางส่วน
4.2 มีความบกพร่องทางการได้ยิน
4.3 ปัญญาอ่อน
4.4 พิการทางการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการพิการทางสมองความพิการทางแขน ขา ลำตัว
4.5 มีความบกพร่องทางการพูด การใช้ภาษา
4.6 มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะด้าน
4.7 มีปัญหาความพิการซ้อน
4.8 เรียนหนังสือได้ช้า
4.9 ด้านตา

5. ทางการแพทย์มีการจัดประเภท เพื่อการบำบัด คือ
5.1 ความพิการทางแขน ขา ลำตัว
5.2 ความพิการทางหู
5.3 ความพิการทางสติปัญญา
5.4 ความพิการทางหู
5.5 ความพิการทางอารมณ์และจิตใจ

6. พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 แบ่งประเภทของบุคคลที่มีความต้องการพิการเศษ เพื่อนการจดทะเบียนและการฟื้นฟูสมรรถภาพ
6.1 คนพิการทางการมองเห็น
6.2 คนพิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย
6.3 คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
6.4 คนพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้
6.5 คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว

กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง หรือมีความเป็นเลิศทางสติปัญญา ซึ่งเรียกทั่ว ๆไปว่าเด็กปัญญาเลิศ กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่ม ที่สามารถพัฒนาตนเองได้ดี เพราะเป็นผู้ที่มีความารถทางสติปัญญาและ หรือความถนัดเฉพาะทาง เมื่อเทียบกับระดับพัฒนาการในด้านต่างๆกับเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กในช่วงอายุเดียวกันแล้วพบว่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยหรือเร็วกว่าค่าเฉลี่ยที่มีการกำหนดไว้ ทั้งในด้านการรับรู้และความสามารถในการ แก้ปัญหา ด้านปริมาณและคุณภาพเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญาจะพบว่าระบสติปัญญาสูง กว่า 120ขึ้นไป

กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง ด้านความสามารถ หรือมีปัญหาเด็กเหล่านี้มักจะเรียนรู้ได้ช้า และมีปัญหาในการเรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนาด้านต่างๆ เป็นไปได้ไม่เท่าเทียมกับเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กเมื่อเทียบกับเด็กอายุในช่วงเดียวกัน ดังนั้นการจะให้การศึกษา หรือการจะพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ต้องอาศัยความรู้ความรู้ความเข้าใจและให้การช่วยเหลือเป็นพิศษตามความ เหมาะสม

กลุ่มเด็กที่มีความสามารถสูง หรือเป็นเลิศทางปัญญา กลุ่มนี้เป็นกลุ่มทีาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้และพัฒนาตนเองได้เพราะเป็นผู้มีความสามารถทางสติปัญญา หรือความถนัดเฉพาะทาง เมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา จะพบระดับสติปัญญาสูงกว่า 120 ขึ้นไป

กลุ่กเด็กที่มีความบกพร่อง ด้วยความสามารถ กลุ่มนี้จำแนกได้ 8 ประเภทคือ
เด็กที่มีบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
เด็กที่มีบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เด็กทีมีปัญหาทางออทสติก
เด็กที่มีบกพร่องทางการเห็น

ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่างๆ
ในชั้นเรียนเรามักจะพบว่า นักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งมีผลให้พฤติกรรมของเด็กมีความแตกต่างกันไปด้วยดังนั้นการเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง ลักษณะบางประการขงอเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะช่วยทำให้สามารถคาดการณ์ได้ ว่าเด็กได้พบเห็นนั้นน่าจะเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทใดซึ่งจะมาสามารถจัด บริการทางการศึกษาและให้การช่วยเหลือเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการพิเศษขอเด็กได้อย่างไรก็ตามลักษณะบางอย่างที่สังเกตได้นั้นยังไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นเด็กพิเศษ หรือไม่ที่สำคัญการที่จะบอกได้ว่าเป็นเด็กที่ต้องมีความพิเศษประเภทใดนั้นต้องได้รับการตรวจสอบวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญก่อนการเข้าใจลักษณะบางประการของเด็กที่มีความบกพร่องประเภทต่างๆจะช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเด็กเพื่อที่จะได้เตรียมให้การช่วย เหลือหรือส่งต่อเด็กไปเพื่อทำการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสม
ลักษณะบางประการที่จะช่วยให้เข้าใจและสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเป็น เด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทใดนั้น สังเกตได้ดังนี้
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่พอสังเกตได้ดังนี้
  1. พัฒนาการทางร่างกาย ภาษา อารมณ์ และสังคม เช่น การชันคอ
  2. ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  3. ช่วงความไม่สนใจสั้น วอกแวก
  4. ขาดความสนใจในสิ่งที่เฉพาะเจาะจง
  5. ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
  6. อดทน ต่อการรอคอยน้อย
  7. ทำงานช้า
  8. ทำอะไรรุนแรง ไม่มีเหตุผล ไม่ถูกกาลเทศะ
  9. ความเข้าใจจากการฟังดีกว่าการอ่าน
  10. การจำตัวอักษร หรือข้อความน้อยกว่าวัย
  11. มักมีปัญหาทางการพูด
  12. อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ
  13. กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  14. ไม่สามารถปรับตัวได้
  15. ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัยเดียวกัน

ชอบเล่นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่พอสังเกตได้ ดังนี้
  1. ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก
  2. มักตะแคงหูฟัง
  3. ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  4. พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ
  5. พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  6. พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  7. พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
  8. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  9. รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  10. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด เสียงดนตรี หรือมีบ้างเป็นบางครั้ง
  11. ไม่ชอบร้องเพลงไม่ชอบฟังนิทานแต่แสดงการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเสียงดังในระดับที่เด็กได้ยิน
  12. มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
  13. ไม่พูดเมื่อมีสิ่งเร้าจากแวดล้อม
  14. ซน ไม่มีสมาธิ
  15. ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้
  16. มีความลำบากในการอ่านหนังสือ
  17. ไม่ตอบคำถาม
  18. อาจมีปัญหาทางอารมณ์และสังคม
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่พอสังเกตได้ มีดังนี้
  1. เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  2. ไม่สนใจในสิ่งที่ต้องการใช้สายตา เช่นการเล่นช่อนหา
  3. มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  4. มักบ่นว่าปวดศรีษะ คลื่นใส้ ตาลาย คันตา
  5. ก้มศรีษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  6. ขาดความสนใจ เหม่อลอย
  7. เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
  8. ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  9. ลำบากในเรื่องการใช้บันได ใส่กระดุม ผูกเชือกรองเท้า อ่านและเขียนหนังสือ
  10. มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพที่พอ สังเกตได้ แบ่งเป็น 

1. ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกาย มีดังนี้
1.1 แสดงความผิดปกติทางร่างกายเป็นที่น่าสังเกตอย่างเด่นชัด
1.2 มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
1.3 เท้าบิดผิดรูป
1.4 กระดูกสันหลังโค้งงอ
1.5 กลไกเคลื่อนไหวมีปัญหา
1.6 ท่าเดินคล้ายกรรไกร คือเข่าชิดปลายเท้าแยกจากกัน
1.7 สวมรองเท้าขาเหล็ก หรือเบรส
1.8 สูญเสียการควบคุมกลไกกล้ามเนื้อ หรือการประสานงานของร่างกาย
1.9 อาการเคลื่อนไหวสั่น หรือกระตุก
1.10 การทรงตัวของร่างกายทั้งสองข้างไม่สมดุลกัน
1.11 ความผิดปกตินั้นเกี่ยวกับหน้าที่การใช้งานตามปกติของระบบกระดูกกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อ
1.12 เดินขากะเผลก หรืออืดอาดเชื่องช้า 

2. ลักษณะของเด็กบกพร่องทางสุขภาพ มีดังนี้
2.1 มีอาการเหนื่อยง่าย
2.2 มีความผิดปกติจนไม่สามารถเข้าร่วมกลุ่มกับเพื่อนได้ หรือถูกหัวเราะเยาะ กลายเป็นตัวตลก
2.3 มักกระสับกระส่าย และอยู่ไม่สุข
2.4 ชักช้าและขาดความคล่องแคล่ว
2.5 มักหายใจขัดหลังการออกกำลังกาย
2.6 ไอเสียงแห้งบ่อย
2.7 มักบ่นเจ็บหน้าอกภายหลังการทำงานโดยใช้ร่างกาย
2.8 หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากและ/หรือปลายนิ้ว
2.9 อาการไข้ต่ำๆเป็นหวัดบ่อยๆ
2.10 เกิดการชักอย่างกระทันหัน
2.11 ขาดสมาธิ หรือขาดความตั้งใจแน่วแน่
2.12 เป็นลมง่าย
2.13 บ่นว่าเจ็บภานในแขน ขาและ/หรือข้อต่อ
2.14 หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ
2.15 ท่าเดินผิดปกติ
2.16 ศรีษะโคลงไปมา
2.17 ก้าวขึ้นบันไดด้วยความยากลำบาก
2.18 ท่ายืนผิดปกติ
2.19 บ่นว่าปวดหลัง
2.20 หกล้มบ่อย ๆ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษาที่พอสังเกตได้ มีดังนี้
1. เมื่ออยู่ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆและอ่อนแรง
2. ไม่อ้อแอ้ภายใน 10 เดือน
3. ไม่พูดภายใน 2 ขวบ
4. หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
5. ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
6. หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในะระดับประถมศึกษา
7. มีปัญหาใรการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
8. ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พอ สังเกตได้แบ่งเป็น
1.ลักษณะพฤติกรรมไม่สมวัยอันอาจนำไปสู่ความบกพร่องทางบุคลิกภาพและการปรับตัวหากได้รับการแก้ไข มีดังนี้
1.1 หยิบสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเข้าปาก
1.2 กินอาหารยาก หรือเบื่ออาหาร
1.3 กินจุ พร่ำเพรื่อ
1.4 อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้า หรือที่นอน
1.5 ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา
1.6 พูดน้อยคำ
1.7 พูดไม่เป็นภาษาที่ฟังเข้าใจ
1.8 พูดไม่ชัด
1.9 พูดเสียงเบา ค่อยๆ
1.10 พูดตะกุกตะกัก
1.11 พูดหยาบคาย
1.12 ไม่ยอมพูดเฉพาะกับคนบางตน
1.13 ดูดนิ้ว
1.14 กัดเล็บ
1.15 ถอนผม
1.16 กัดฟัน
1.17 โขกศรีษะ
1.18 โยกตัว
1.19 เล่นอวัยวะเพศ
1.20 เรียบร้อยเกินไป
1.21 ติดคนมากเกินไป
1.22 เชื่อผู้อื่นมากเกินไป
1.23 สมยอม
1.24 ดื้อดึงผิดปกติ
1.25 ซนผิดปกติ
1.26 หงอยเหงาเศร้าซึม
1.27 ไม่ยอมช่วยตัวเองในสิ่งที่ทำได้
1.28 พัฒนาการต่างๆที่เคยทำได้ชงัก
1.29 ชอบพึ่งพาผู้อื่น
1.30 ไม่กล้าแสดงตนเอง หรือแสดงความคิดเห็น
1.31 ขาดความเชื่อมั่นหรือภาคภูมิใจในตนเอง
1.32 ท้อแท้สิ้นหวัง หมดกำลังใจ
1.33 อาย หลบ หวาดกลัว
1.34 แยกตัวเองไม่เข้ากลุ่ม
1.35 รู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อย
1.36 เรียกร้องความสนใจ
1.37 ป้ายความผิดให้ผู้อื่น
1.38 ไม่ยอมรับผิด
1.39 กลัวโรงเรียน หรือไม่อยากมาโรงเรียน
1.40 อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า การถูกวิจารณ์ หรือต่อการเปลี่ยนแปลง
1.41 ระแวง
1.42 ย้ำคิดย้ำทำ
1.43 ก้าวร้าว
1.44 ต่อต้านสังคมด้วยวิธีต่างๆ
1.45 ดื้อเงียบ เช่น ทำไม่รู้ไม่ชี้ ทำเป็นไม่ได้ยิน
1.46 มีความประพฤติ จิตใจ การแต่งกาย และบทบาทไม่สมกับเพศของตนเองตาม พัฒนาการของวัย

2. ลักษณะความผิดปกติทางความประพฤติที่เป็นปัญหา มีดังนี้
2.1 รู้วสึกว่าตัวเองมีปมเด่น
2.2 ฝ่าฝืนไม่เครพกฎระเบียบของหมู่คณะ
2.3ละเมิดสิทธิผู้อื่น
2.4 ก้าวร้าวทั้งทางด้านการกระทำและวาจา
2.5 ดื้อดึง ต่อต้าน
2.6 มักก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2.7 วางเขื่อน
2.8 ต้องการความยอมรับจากผู้อื่น
2.9 อดกลั้นต่อการถูกยั่วยุไม่ค่อยได้
2.10 ไม่ยอมรับผิด
2.11 ไม่เป็นมิตรนอกจากกับกลุ่มของพวกตน
2.12 อาฆาตพยาบาท
2.13 เกะกะระราน วางโต
2.14 ก่อให้เกิด หรือได้รับอุบัติเหตุบ่อยๆ
2.15 ลักเล็กขโมยน้อย
2.16 พูดปด
2.17 ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น
2.18 หนีการเรียน
2.19 หนีออกจากบ้าน
2.20 ใช้สารเสพย์ติดต่างๆ
2.21 ผลการเรียนอยู่มนเกณฑ์ไม่ดีหรือด้อยลง

3. ลักษณะความบกพร่องทางอารมณ์และอาการทางประสาท
3.1 ช่วงวิตกักกังวลจนเกินเหตุอยู่เสมอ
3.2 หวาดผวากลัวอย่างไม่สมเหตุสมผล
3.3 ตกใจง่าย
3.4 เคียดแค้นอาฆาต
3.5 หงุดหงิด ฉุนเฉียว ขี้โมโห บันดาลโทสะ
3.6 ขี้อิจฉาริษยา
3.7 เกี้ยวกราด มุทะลุ ก้าวร้าว
3.8 เจ้าอารมณ์
3.9 เจ้าน้ำตา
3.10 เศร้าซึม
3.11 หงอยเหงา
3.12 หมกมุ่นครุ่นคิด
3.13 ฝันกลางวัน
3.14 เหม่อลอย
3.15 ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้า
3.16 กลัวโรงเรียน
3.17 ความเอาใจใส่ และสมาธิต่อการเรียนลดลง
3.18 ผลการเรียนด้อยลง
3.19 ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
3.20 ติดผู้ใดผู้หนึ่งมากเป็นพิเศษ
3.21 ตัดสินใจอะไรไม่ได้
3.22 ท้อแท้ หมดหวัง
3.23 พะวงถึงแต่ตัวเอง
3.24 ตีโพยตีพาย
3.25 ตื่นเต้นง่าย
3.26 เก็บกดซ่อนเร้นความรู้สึก
3.27 ติดอ่าง
3.28 ฝันร้าย
3.29 นอนละเมอ
3.30 หลับยาก
3.31 พูดเพ้อเจ้อ
3.32 ย้ำคิดย้ำทำ
3.33อ่อนเพลียไม่มีแรง
3.34 เหนื่อยง่าย
3.35 เบื่ออาหาร
3.36 กลืนไม่ลง
3.37 หายใจไม่เต็มอิ่ม
3.38 จุกในคอ
3.39 แน่นหน้าอก
3.40 ถอนหายใจ
3.41 กระตุกหรือเกร็งตามส่วนต่างๆของร่างกาย
3.42 ทำเสียงในจมูกหรือในคอซ้ำๆซากๆ
3.43 เวียนหัว หน้ามืด
3.44 ปวดหัว
3.45 ปวดท้อง
3.46 ปวดข้อ
3.47 ปวดแขน ขา
3.48 ชาตามส่วนต่างๆของร่างกาย
3.49 ดูดนิ้ว
3.50 กัดเล็บ
3.51 กัดริมฝีปาก
3.52 ถอนผม
3.53 แกะเกาจนอาจเป็นผื่นแผลตามตัว
3.54 ปัสสาวะ อุจจาระบ่อยหรือราด
ลักษณะของเด็กสมาธิสั้น
1. กลุ่มซนอยู่ไม่นิ่งหรือซนมากผิดปกติ(Hyperactivity)กลุ่มที่หุนหันพลันแล่น ขาดความยั้บยั้งชั่งใจ มีลักษณะดังนี้
  1. ไม่รู้จักระมัดระวัง ตัวเอง ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
  2. ลุกออกจากที่นั่งบ่อยๆ 
  3. ชอบวิ่ง หรือปืนป่าย อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย วุ่นวาย 
  4. พูดคุยมากเกินไป 
  5. มีความลำบากในการเล่นคนเดียวเงียบ 
  6. ลุกลี้ลุกลน 
  7. อารมณ์ร้อน เปลี่ยนแปลงง่าย 
  8. ขาดความอดทนในการรอคอย 
  9. ชอบพูดขัดจังหวะ รบกวน ช่างฟ้อง 
2. กลุ่มที่ไม่มีการซน แต่อยู่ไม่นิ่ง เป็นกลุ่มสมาธิที่บกพร่อง (Inattentive) มีลักษณะดังนี้
  1. มีปัญหาทางด้านกิจกรรมตามลำพังโดยเฉพาะคำสั่งยาวๆมีความลำบากในการฟัง คำสั่งให้ตลอดใจความ 
  2. มีความลำบากในการทำงาน หรือเล่นกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้สำเร็จลุลวงไป
  3. อุปกรณ์ เครื่องใช้เกี่ยวกับการเรียนต่างๆสูญหายบ่อยๆ
  4. ไม่สนใจสิ่งเร้าสำคัญ แต่ไม่สนใจสิ่งเร้าที่ไม่สำคัญ 
  5. ขาดสมาธิ หรือความตั้งใจในการทำกิจกรรมที่มีรายละเอียดปลีกย่อย หรือเรียนวิชาที่น่าเบื่อหน่ายใช้เวลานาน
  6. ขาดการวางแผนจัดการที่ดี (Disorganized)
  7. มีความลำบากในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเป็นเวลานานๆ(Iong mental effort)
  8. มักขี้ลืม ทำของหายเป็นประจำ หรือลืมนัด
  9. ถูกรบกวนจากสิ่งเร้าต่างๆง่ายมาก วอกแวกง่าย เหม่อลอยหรือช่างฝัน 
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่พอสังเกตได้ มีดังนี้
  1. แยกความแตกต่างของขนาดและรูปทรงไม่ได้ 
  2. จำตัวเลขไม่ได้
  3. นับเลขไม่ได้ 
  4. ใช้เครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร ไม่ได้เมื่อเรียนแล้ว 
  5. คำนวณผิด แม้จะใช้เครื่องหมายถูก
  6. มีปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์
  7. เข้าใจคำศัพท์น้อยมาก 
  8. ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจคำสั่ง
  9. ไม่ตั้งใจฟังครู 
  10. จำสิ่งที่ครูพูดให้ฟังไม่ได้ 
  11. เล่าเรื่อง / ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้ 
  12. มีปัญหาด้านการอ่านเช่นอ่านข้ามบรรทัดอ่านไม่ออกอ่านไม่ชัดไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่อ่าน
  13. มีปัญหาทางด้านการเขียน เช่น เขัยนหนังสือไม่เป็นตัว จำตัวอักษรไม่ได้ สะกดคำไม่ได้ เขียนบรรยายภาพไม่ได้เลย 
  14. สับสนเรื่องราว
  15. กะขนาดไมได้
  16. ไม่เข้าใจเกี่ยวกับระยะทาง 
  17. เรียงลำดับมากน้อยไม่ได้ 
  18. เรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้ 
  19. สับสนเรื่องซ้าย - ขวา หรือบน- ล่าง
  20. มองเห็นภาพแต่บอกความแตกต่างของภาพไม่ได้ 
  21. จำสิ่งที่เห็นไม่ได้ 
  22. จำสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ และแยกเสียงไม่ได้
  23. เคลื่อนไหวช้าผิดปกติ 
  24. เดินงุมง่าม
  25. หกล้มบ่อย 
  26. กระโดดสองเท้าพร้อมกันไม่ได้ 
  27. มีปัญหามในการทรงตัวขณะเดิน 
  28. หยิบจับสิ่งของไม่ค่อยได้จึงทำของหลุดมือบ่อย ซุ่มซ่าม
  29. เคลื่อนไหวเร็วอยุ่ตลอดเวลา
  30. อยู่นิ่งเฉยไม่ได้
  31. รับลูกบอลไม่ได้ 
  32. ติดกระดุมไม่ได้ 
  33. เอาแต่ใจตนเองไม่ฟังความเห็นของเพื่อน
  34. เพื่อนไม่ชอบ ไม่อยากให้เข้ากลุ่มด้วย
  35. ช่วงความสนใจสั้นมาก
  36. แต่งตัวไม่เรียบร้อยเป็นประจำ 
  37. ทำงานสกปรกไม่เป็นระเบียบ
  38. ชอบหลบหน้าไม่ค่อยมีเพื่อน
  39. หวงของ ไม่แบ่งปัน 
  40. ขาดความรับผิดชอบ เลี่ยงงาน
  41. มักทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่สำเร็จ 
  42. ส่งงานไม่ตรงเวลา
เด็กออทิสติก
ลักษณะของเด็กออทิสติก มีดังนี้
  1. อยู่ในดลกของตัวเอง คือไม่สนใจต่อความรู้สึก ของคนอื่น 
  2. ไม่สนใจที่จะเข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ 
  3. ไม่เข้าไปเล่นกับกลุ่มเพื่อนๆ 
  4. ไม่ยอมพูด ส่วนการเล่นเสียงจะไม่มีแบบแผนแน่นอน อาจแตกต่างกันไปในแต่ละวัน 
  5. เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆซากๆ 
  6. ยึดติดวัตถุ สิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งมักถือเดินไปเรื่อยๆ
  7. ต่อต้าน หรือแสดงกิริยาอารมณ์ รุนแรง และไร้เหตุผล
  8. มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
  9. ท่าทางไม่รู้สึกรับรู้ต่อสิ่งเร้ามี่มากระตุ้น 
  10. ใช้วิธีการสัมผัส และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่ต่างจากคนทั่วไป เช่น ใช้วิธีการดม การชิม เป็นต้น
เด็กพิการซ้อน
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องซ้อน ที่พอสังเกตได้ดังนั้นก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกับลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องในประเภทต่างๆดังได้กล่าวแล้วข้างต้น