หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อมูลเพิ่มเติม

แลคเกอร์ การเคลือบผิวไม้ยอดนิยม (Lacquer)

เป็นสารสังเคราะห์ที่แก้ปัญหาของ Shellac มันทนน้ำ ความร้อน ความชื้น เคมี กรด ด่าง มากกว่า Shellac และมี สองแบบ

Nitrocellulose Lacquer เป็นชนิดที่ใช้กันทั่วไป
Cellulose Lacquer บางทีเรียก Water White มีความเหลืองน้อยกว่า และแพง ไม่นิยม

Nitrocellulose Lacquer

เป็นส่วนผสมของ Nitrocellulose, Resin, Plasticizers ซึ่งส่วนผสมจะแตกต่างไปตามแต่ ผู้ผลิตจะผสมทำให้ การแห้ง ยืดหยุ่นต่างกันไป คุณสมบัติที่สำคัญ ของ Lacquer ขึ้นกับ อัตราการแห้ง ของ Lacquer มากกว่าส่วนผสมที่เติมลงไป การแห้งเกิดจาก Solvent ที่ละเหยออกไป นั่นคือ Thinner Lacquer ซึ่ง มันถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานแบบพ่นมากว่า เพราะมันแห้งเร็ว การแข็งตัวของ Lacquer ไม่มีการ Cross Link ดังนั้นการทนความร้อน เคมี ด่าง จึงไม่เท่า Varnish แต่มากกว่า Shellac

สิ่งที่ทำให้ Lacquer เป็นที่นิยม

สามารถใช้วิธีการพ่นได้ง่าย
การแห้งที่รวดเร็ว สามารถทาได้วันหนึ่ง 3-4 รอบ
มี Solvent เป็น Thinner Lacquer ที่แตกต่างกัน สามารถ เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติให้กับ Lacquer ได้
Film ที่ได้มีความใสให้ความรู้สึกลึก
สามารถที่จะขัดเงาได้ดี
สามารถดัดแปลงได้ หลายสูตร การใส่สีลงไปก็ได้ นอกจากนี้ชิ้นงานที่ได้เหมือนทา Wax หรือ Oil
ราคาถูก รักษาเนื้อไม้ได้ดีกว่า Shellac ป้องกันความชื้น ความร้อน สารเคมีได้ดีกว่า Shellac
Lacquer ที่ใช้กับ ไม้ไม่ใช่ที่ใช้กับรถยนต์หรือเหล็ก ที่ใช้กับรถยนต์จะเป็น Acrylic Lacquer ซึ่งจะแข็งมากกว่าและไม่ยืดหยุ่น แต่ไม้มีการหดตัว ขยายตัวอาจจะทำให้มีการแตกที่ผิวได้ ดังนั้นต้องพิจารณาอย่าใช้ผิดประเภทโดยเด็ดขาด
พลาสติกที่ตั้งบนผิว Lacquer นาน ๆ อาจติดยึดกับผิวได้ ต้องระวัง

คุณสมบัติของ Lacquer ขึ้นอยู่กับตัวทำละลายด้วย มันต้องละลาย และระเหยไปอย่างเหมาะสม มีสารละลายหลายชนิดที่ละลาย Lacquer อัตราการละเหยแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราสามารถควบคุมการระเหยโดยการใส่ Solvent ที่แตกต่างกันออกไป

สารละลายที่ผู้ผลิตมักใช้โดยทั่วไปมี 3 แบบ
Standard Lacquer Thinner อัตราการระเหยเป็นปกติที่รู้จักกันดี
Lacquer Retarder ซึ่งอัตราการระเหยจะช้ากว่า Standard
Fast Lacquer Thinner จะระเหยเร็วกว่า พวก Standard กลุ่มนี้ไม่ค่อยนิยมใช้ หายาก

โดยปกติแล้วเมื่อเราซื้อ Lacquer Thinner มาแล้วเราต้องการให้การระเหยช้าเราต้องใส่พวก Retarder ลงไป
ในการทำงาน กับ Lacquer เราเปลี่ยนแปลงตัว Thinner -เพื่อให้เหมาะสมกับ
สภาพอากาศ ความชื้นและอุณหภูมิ ประมาณซัก 22-25 องศา กำลังเหมาะความชื้นไม่เกิน 40
อัตราการไหลของ Lacquer เพื่อลดการเกิดอาการแบบเปลือกส้ม
เพื่อทำให้ผิวโดยรวมยังเปียกอยู่ในขณะที่คุณยังพ่นผิวงานไม่เสร็จ

เพื่อลดความเร็วในการแห้งแข็งเพื่อจะได้ทาให้ทัน
Fish Eye เป็นความผิดพลาดของการทา Lacquer แบบหนึ่ง ไม่สามารถแก้ได้ด้วยวิธีเปลี่ยน Thinner ซึ่งจริงๆ แล้วอาจเกิดกับ Finnish เกือบทุกชนิดยกเว้น Shellac สภาพอากาศที่ร้อน อบอ้าว Standard Thinner จะละเหยเร็วการไหลของ Lacquer แทบไม่มี ทำให้เกิดอาการแบบผิวส้ม หรือ ผิวดวงจันทร์ มีหลุมกลม ๆ อยู่บนผิวงาน ดังนั้นเราอาจต้องลดอัตราการระเหยลง หรือใช้วิธีปรับแต่งปืนพ่น Spray อากาศที่ชื้น การระเหยช้า ผิวงานอาจจะมีฝุ่นมาจับมาก อาจต้องเปลี่ยนเอา Thinner ที่ระเหยเร็วขึ้น ไม่มีกฎตายตัวในการผสม Retarder ขึ้นกับว่าต้องการให้ช้าเร็วแค่ไหน

Fish Eye ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มี Silicone บนผิวงานเก่า ซึ่งเคยทาด้วย Lubricant ที่มีส่วนผสม silicone และมันได้แทรกตัวเข้าไปตามร่องรู ในเนื้อไม้ และไม่สามารถกำจัดได้หมด และมันทำให้เกิด Fish Eye ในชั้นแรก ๆ ทาพอหลังจากนั้นก็จะหายไป

วิธีแก้ที่ดีคือการใช้ Lacquer Thinner เช็ดผิวงานก่อนทา เพื่อกำจัด Silicone
Seal ผิวงานใหม่
ขัดออกแล้วดูดฝุ่นออกด้วย
ลดแรงตึงผิวของ Finish ที่ใช้ทา
การใช้แปรงทา Lacquer
โดยปกติ Lacquer ถูกออกแบบ มาเพื่อใช้ Spray

การพ่น Lacquer

Lacquer ส่วนใหญ่แห้งเร็วเกินไปที่จะใช้แปรง ดังนั้นเราจึงใช้วิธีพ่น
1. จัดวางชิ้นงานเพื่อให้เรามองเห็นการสะท้อนของแสง
2. ทำการเจือจาง ด้วย Thinner ตามที่ผู้ผลิตระบุ จนรู้สึกได้ว่ามันเป็นหยด เมื่อยกไม้คนขึ้น
3. ชิ้นงานที่ผ่านการ Seal มาเรียบร้อยแล้ว
4. พ่นลงบนชิ้นงาน หลังจากทิ้งไว้แห้งดีแล้วต้องขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 280 เบอร์เดียวกับ ที่ขัดตัว Sealer และทางที่ดี รอบแรกควรทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วขัด แต่บางที 1- 2 ชั่วโมงเราก็ขัดได้แล้ว เพื่อเอา Fiber ขนเล็ก ๆบนผิวของไม้ออก การทิ้งไว้ข้ามคืนจะทำให้การขัดง่ายขึ้น
5. กำจัดฝุ่นออกให้หมด ต้องหมดจริง ๆ อาจใช้วิธีดูดฝุ่นออก
6. จากนั้น พ่นรอบต่อไป จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 280 หรือละเอียดกว่า แล้วกำจัดฝุ่น หากผิวเรียบเนียนดีการพ่นรอบต่อ ๆ ไป อาจจะไม่ต้องขัดอีก จนกว่าจะได้ความหนาที่ต้องการ
7. ในชั้นที่เป็น Finish ถ้าหากคุณขัด อาจจะไม่ต้องกำจัดฝุ่น สามารถพ่นทับได้เลย แต่ต้องเป็นกระดาษทรายเบอร์ละเอียดเท่านั้น อาจใช้เบอร์ 600 ได้เลย รอบสุดท้ายหากแห้งแล้วอาจขัดเงาได้ แต่ต้องแห้งสนิทจริง
ในการพ่นทับส่วนที่เป็น Top Coat ของ Lacquer อาจจะไม่ต้องรอให้ Lacquer แห้งสนิทก็พ่นทับได้ ต้องบางจริง เพราะ Lacquer จะไปละลายพื้นผิวเดิมบางส่วน ทำให้การยึดติดดีขึ้น



ฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์ (Phenol Formaldehyde : Bakelite)
ฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์ หรือเบกกาไลต์ เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมเซ็ตชนิดแรกที่รู้จักมานาน มีสีน้ำตาลคล้ายขนมปัง มีความแข็งและอยู่ตัว เรซินชนิดนี้มีทั้งที่เป็นของเหลวใส เหมาะสำหรับหล่อในพิมพ์และแบบที่เป็นผงสำหรับการขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ซึ่งชนิดหลังนี้มีสีน้ำตาลดำเพียงอย่างเดียว
สมบัติทั่วไป
- เนื้อแข็งคงตัว แต่เปราะ ทนทานต่อการผุกร่อน
- เป็นฉนวนไฟฟ้า
- ทนความร้อนได้สูง (๒๖๐ องศาเซลเซียส)
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์
ใช้ทำปลอกหุ้มคอยล์รถยนต์ แกนคอยล์ในเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ เปลือกเครื่องโทรศัพท์สมัยโบราณ ด้ามเครื่องมือช่าง หูหม้อ หูกระทะ ด้ามมีด ลูกบิลเลียด แผงวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กาวสารเคลือบผิว ตลอดจนใช้เป็นสารเติมแต่งในอุตสาหกรรมยาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น