หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เด็กพิเศษ

ประเภทและลักษณะ

     การจัดแบ่งประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มักจะทำเพื่อเป็นการจัดให้สอดคล้องกับการจัดบริการ และให้การช่วยเหลือตามความเหมาะสม ซึ่งการจัดแบ่งประเภทจึงมีความแตกต่างกัน ดังนี้
องค์การอนามัยโลก (WHO)ได้จัดแบ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามลักษณะไว้  ดังนี้
  1. แบ่งตามความบกพร่อง (Classification of Impairment) ได้แก่
    1.1 บกพร่องทางสติปัญญาหรือความทรงจำ (Intelligence or Memory Impairment)
    1.2 บกพร่องทางจิตอื่น ๆ (Other Psychological Impairment)
    1.3 บกพร่องทางภาษาหรือการสื่อความหมาย (Language or Communication Impairment)
    1.4 บกพร่องทางการได้ยิน (Aural Impairment)
    1.5 บกพร่องทางการมองเห็น (Ocular Impairment)
    1.6 บกพร่องทางอวัยวะภายใน (Visceral Impairment)
    1.7 บกพร่องทางโครงกระดูก (Skeletal Impairment)
    1.8 บกพร่องทางประสาทสัมผัส (SensoryImpairment)
    1.9 อื่น ๆ
  2. แบ่งตามการไร้ความสามารถ (Classification of Disabilities)
    2.1 ไร้ความสามารถทางอุปนิสัย (Behavior Disabilities)
    2.2 ไร้ความสามารถทางการสื่อความหมาย (Communication Disabilities)
    2.3 ไร้ความสามารถทางการดูแลตนเอง (Personal Care Disabilities)
    2.4 ไร้ความสามารถทางการเคลื่อนไหว (Locomotor Disabilities)
    2.5 ไร้ความสามารถทางความคล่องแคล่วของอวัยวะ (Dexterity Disabilities)
    2.6 ไร้ความสามารถทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Disabilities)
    2.7 ไร้ความสามารถในบางสถานการณ์ (Situational Disabilities)
  3. แบ่งตามการเสียเปรียบ (Classification of Handicap)
    3.1 เสียเปรียบทางความสำนึก (Orientation Handicap)
    3.2 เสียเปรียบทางกายไม่เป็นอิสระ ต้องพึ่งผู้อื่น (Physical Independence Handicap)
    3.3 เสียเปรียบทางการเคลื่อนไว (Mobility Handicap)
    3.4 เสียเปรียบทางด้านกิจกรรม (Occupation Handicap)
    3.5 เสียเปรียบทางด้านสังคม (Social Integration Handicap)
    3.6 เสียเปรียบทางสภาพเศรษฐกิจ (Economic Self- Sufficiency Handicap)

 @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ระดับความรุนแรง

"ความบกพร่องทางสติปัญญา" เป็นคำที่นำมาใช้แทนคำว่า "ปัญญาอ่อน" เนื่องจากคำเดิมถูกนำไปใช้ในทางลบค่อนข้างมาก คำนี้ตรงกับศัพท์ทางการแพทย์ที่เรียกย่อว่า “เอ็มอาร์” (MR - Mental Retardation) ซึ่งในปัจจุบันเริ่มนิยมใช้กันอีกคำ คือ "ไอดี" (Intellectual Disabilities) ซึ่งทั้งสองคำนี้ มีคำจำกัดความเหมือนกัน คือนำมาใช้แทนกันได้เลยเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มักมีปัญหาเกือบทุกด้านในชีวิตประจำวัน และปัญหาการเรียน เนื่องจากเด็กมีข้อจำกัดหรือเพดานในการเรียนรู้ ทำให้ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆได้เท่ากับเพื่อนในวัยเดียวกัน เป็นภาวะที่สมองหยุดพัฒนาหรือพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดความบกพร่องของทักษะด้านต่างๆ ในระยะพัฒนาการ และส่งผลกระทบต่อระดับเชาวน์ปัญญาทุกๆ ด้าน
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1) ความสามารถทางสติปัญญาต่ำว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญ คือ มีระดับเชาว์ปัญญา หรือไอคิวต่ำกว่า 70
2) มีความบกพร่อง หรือไม่สามารถปรับตัวในชีวิตประจำวัน (เมื่อเปรียบเทียบกับคนวัยเดียวกัน ในวัฒนธรรมเดียวกัน) อย่างน้อย 2 ทักษะต่อไปนี้ คือ
2.1. การสื่อความหมาย (Communication) 
2.2. การดูแลตนเอง (Self-care) 
2.3. การดำรงชีวิตในบ้าน (Home Living) 
2.4. ทักษะทางสังคม (Social / Interpersonal Skills) 
2.5. ทักษะในการเรียน (Functional Academic Skills) 
2.6. การรู้จักใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Use of Community Resources) 
2.7. การควบคุมตนเอง (Self-direction) 
2.8. การทำงาน (Work) 
2.9. การใช้เวลาว่าง (Leisure) 
2.10. การดูแลสุขภาพ และความปลอดภัย (Health and Safety)
3) เริ่มมีอาการก่อนอายุ 18 ปี ลักษณะอาการ และระดับความรุนแรง     ความบกพร่องทางสติปัญญามีระดับความรุนแรงแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ตามระดับเชาว์ปัญญา และระดับความสามารถที่วัดได้

ระดับน้อย (Mild Mental Retardation)     มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 50-70 อาจไม่แสดงอาการล่าช้าจนกระทั่งวัยเข้าเรียน (แต่ถ้าสังเกตอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่าเด็กเหล่านี้มีความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์อย่างเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่วัยอนุบาล) ไม่มีอาการแสดงทางร่างกาย ทางบุคลิกภาพ หรือทางพฤติกรรมใดโดยเฉพาะ ที่บ่งบอกถึงความบกพร่องทางสติปัญญายกเว้นกลุ่มอาการที่มีลักษณะพิเศษทางรูปร่างหน้าตา ปรากฏให้เห็น ก็จะทำให้สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือในวัยทารก อาทิ กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) แต่ความผิดปกติเหล่านี้ ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นเด็กในกลุ่มนี้สามารถพัฒนาทักษะด้านสังคม และการสื่อความหมายได้เหมือนเด็กทั่วไป แต่มักมีความบกพร่องด้านประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว สามารถเรียนรู้ได้ (educable) ทักษะทางวิชาการมักเป็นปัญหาสำคัญที่พบในวัยเรียน แต่ก็สามารถเรียนจนจบชั้นประถมปลายได้สามารถฝึกทักษะด้านสังคมและอาชีพ พอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ เป็นแรงงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะฝีมือ หรือกึ่งใช้ฝีมือ แต่อาจต้องการคำแนะนำ และการช่วยเหลือบ้างเมื่อประสบความเครียด
ระดับปานกลาง (Moderate Mental Retardation)     มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 35-50 ในช่วงขวบปีแรก มักจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวปกติ แต่พัฒนาการด้านภาษาและด้านการพูดจะล่าช้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงวัยเตาะแตะ การศึกษาหลังจากระดับชั้นประถมต้น มักไม่ค่อยพัฒนาสามารถฝึกอบรมได้ (trainable) ในทักษะการช่วยเหลือ ดูแลตนเอง เรียนรู้ที่จะเดินทางได้ด้วยตนเองในสถานที่ที่คุ้นเคย และฝึกอาชีพได้บ้าง สามารถทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะฝีมือ แต่ควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
ระดับรุนแรง (Severe Mental Retardation)     มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 20-35 มักจะพบทักษะทางการเคลื่อนไหวล่าช้าอย่างชัดเจน ด้านภาษาพัฒนาเล็กน้อย ทักษะการสื่อความหมายมีเพียงเล็กน้อยหรือไม่มี พอจะฝึกฝนทักษะการดูแลตนเองเบื้องต้นได้บ้างแต่น้อย ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเต็มที่ การทำงานต้องการโปรแกรมในชุมชน หรือการให้ความช่วยเหลือที่พิเศษเป็นการเฉพาะ
ระดับรุนแรงมาก (Profound Mental Retardation)     มีระดับไอคิวต่ำกว่า 20 มีพัฒนาการล่าช้าอย่างชัดเจนในทุกๆด้าน มักมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และฝึกการช่วยเหลือตนเองได้บ้าง มีขีดจำกัดในการเข้าใจและการใช้ภาษาอย่างมาก ต้องการความช่วยเหลือ ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา


@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


นำมาใช้ในงาน

       ในเรื่องของงานจะทำคือบล็อกตัวอักษรและตัวเลขและงานนี้จะช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้หัดผสมคำและเรียนรู้เรื่องสีเรื่องการบวกลบตัวเลขและตัวบล็อกจะทำเป็นสีต่างๆเพื่อให้เด็กไม่เบื่อที่จะเล่นกับมันมากและหัดให้เด็กได้หัดนับตัวเลขแล้วนำมาบวกลบได้เข้าใจมากขึ้น เพราะเด็กที่มีวามบกพร่องทางการเรียนรู้นั้นจะนับตัวเลขและผสมคำไม่ได้ ตัวบล็อกของเล่นนี้จึงทำมาเพื่อให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้หัดการผสมคำหรือนับเลขไปพร้อมกับการเล่นไปในตัวจะทำให้เด็กเข้าใจและช่วยเพิ่มการจำตัวเลขได้มากขึ้นและการผสมคำที่ถูกต้องขึ้นก็เป็นได้

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความพิเศษในงาน

ความพิเศษในงาน แนวคิดหลักในการใช้ทำของเล่นเด็ก

             งานทุกงานถ้าขาดความพิเศษในงานอาจจะขายได้ไม่ดี หรืออาจจะไม่ได้เลยก็เป็นได้ กับงานออกแบบทั่วๆไปอาจมีบางอย่าเหมือนกันแต่ในความเหมือนกันนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไปจากการออกแบบทั่วไปก็คือ ความพิเศษในชิ้นงาน



          ของเล่นเด็กทั้งไปจะเป็นแค่บล็อกไม้ธรรมดา จึงไม่มีความพิเศษอะไรที่โดดเด่นเลย จึงทำให้ไม่เป็นจุดสนใจให้เด็กอยากเล่นมากนัก จึงทำให้มีความคิดที่จะพัฒนาเพิ่มเติมความพิเศษลงไปในบล็อกไม้ให้มีความพิเศษเพิ่มขึ้น โดยจะทำบล็อกไม้ให้มีรูปแบบใหม่จากสี่เหลี่ยมหรือวงกลมธรรมดา เราก็ทำเป็นบล็อกในรถไม้เพื่อเพิ่มความสนุกให้เด็กที่เล่นไม่รู้สึกเบื่อ และใส่สีสันให้ดูสดใสน่าเล่นและเพื่อดึงดูดความสนใจจากเด็กให้สนใจในของเล่นชิ้นนี้ และยังสามารถทำให้เด็กเรียนรู้สีต่างๆจากการที่ได้เล่นของเล่นชิ้นนี้ได้อีกด้วย