หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เด็กพิเศษ

ประเภทและลักษณะ

     การจัดแบ่งประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มักจะทำเพื่อเป็นการจัดให้สอดคล้องกับการจัดบริการ และให้การช่วยเหลือตามความเหมาะสม ซึ่งการจัดแบ่งประเภทจึงมีความแตกต่างกัน ดังนี้
องค์การอนามัยโลก (WHO)ได้จัดแบ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามลักษณะไว้  ดังนี้
  1. แบ่งตามความบกพร่อง (Classification of Impairment) ได้แก่
    1.1 บกพร่องทางสติปัญญาหรือความทรงจำ (Intelligence or Memory Impairment)
    1.2 บกพร่องทางจิตอื่น ๆ (Other Psychological Impairment)
    1.3 บกพร่องทางภาษาหรือการสื่อความหมาย (Language or Communication Impairment)
    1.4 บกพร่องทางการได้ยิน (Aural Impairment)
    1.5 บกพร่องทางการมองเห็น (Ocular Impairment)
    1.6 บกพร่องทางอวัยวะภายใน (Visceral Impairment)
    1.7 บกพร่องทางโครงกระดูก (Skeletal Impairment)
    1.8 บกพร่องทางประสาทสัมผัส (SensoryImpairment)
    1.9 อื่น ๆ
  2. แบ่งตามการไร้ความสามารถ (Classification of Disabilities)
    2.1 ไร้ความสามารถทางอุปนิสัย (Behavior Disabilities)
    2.2 ไร้ความสามารถทางการสื่อความหมาย (Communication Disabilities)
    2.3 ไร้ความสามารถทางการดูแลตนเอง (Personal Care Disabilities)
    2.4 ไร้ความสามารถทางการเคลื่อนไหว (Locomotor Disabilities)
    2.5 ไร้ความสามารถทางความคล่องแคล่วของอวัยวะ (Dexterity Disabilities)
    2.6 ไร้ความสามารถทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Disabilities)
    2.7 ไร้ความสามารถในบางสถานการณ์ (Situational Disabilities)
  3. แบ่งตามการเสียเปรียบ (Classification of Handicap)
    3.1 เสียเปรียบทางความสำนึก (Orientation Handicap)
    3.2 เสียเปรียบทางกายไม่เป็นอิสระ ต้องพึ่งผู้อื่น (Physical Independence Handicap)
    3.3 เสียเปรียบทางการเคลื่อนไว (Mobility Handicap)
    3.4 เสียเปรียบทางด้านกิจกรรม (Occupation Handicap)
    3.5 เสียเปรียบทางด้านสังคม (Social Integration Handicap)
    3.6 เสียเปรียบทางสภาพเศรษฐกิจ (Economic Self- Sufficiency Handicap)

 @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ระดับความรุนแรง

"ความบกพร่องทางสติปัญญา" เป็นคำที่นำมาใช้แทนคำว่า "ปัญญาอ่อน" เนื่องจากคำเดิมถูกนำไปใช้ในทางลบค่อนข้างมาก คำนี้ตรงกับศัพท์ทางการแพทย์ที่เรียกย่อว่า “เอ็มอาร์” (MR - Mental Retardation) ซึ่งในปัจจุบันเริ่มนิยมใช้กันอีกคำ คือ "ไอดี" (Intellectual Disabilities) ซึ่งทั้งสองคำนี้ มีคำจำกัดความเหมือนกัน คือนำมาใช้แทนกันได้เลยเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มักมีปัญหาเกือบทุกด้านในชีวิตประจำวัน และปัญหาการเรียน เนื่องจากเด็กมีข้อจำกัดหรือเพดานในการเรียนรู้ ทำให้ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆได้เท่ากับเพื่อนในวัยเดียวกัน เป็นภาวะที่สมองหยุดพัฒนาหรือพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดความบกพร่องของทักษะด้านต่างๆ ในระยะพัฒนาการ และส่งผลกระทบต่อระดับเชาวน์ปัญญาทุกๆ ด้าน
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1) ความสามารถทางสติปัญญาต่ำว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญ คือ มีระดับเชาว์ปัญญา หรือไอคิวต่ำกว่า 70
2) มีความบกพร่อง หรือไม่สามารถปรับตัวในชีวิตประจำวัน (เมื่อเปรียบเทียบกับคนวัยเดียวกัน ในวัฒนธรรมเดียวกัน) อย่างน้อย 2 ทักษะต่อไปนี้ คือ
2.1. การสื่อความหมาย (Communication) 
2.2. การดูแลตนเอง (Self-care) 
2.3. การดำรงชีวิตในบ้าน (Home Living) 
2.4. ทักษะทางสังคม (Social / Interpersonal Skills) 
2.5. ทักษะในการเรียน (Functional Academic Skills) 
2.6. การรู้จักใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Use of Community Resources) 
2.7. การควบคุมตนเอง (Self-direction) 
2.8. การทำงาน (Work) 
2.9. การใช้เวลาว่าง (Leisure) 
2.10. การดูแลสุขภาพ และความปลอดภัย (Health and Safety)
3) เริ่มมีอาการก่อนอายุ 18 ปี ลักษณะอาการ และระดับความรุนแรง     ความบกพร่องทางสติปัญญามีระดับความรุนแรงแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ตามระดับเชาว์ปัญญา และระดับความสามารถที่วัดได้

ระดับน้อย (Mild Mental Retardation)     มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 50-70 อาจไม่แสดงอาการล่าช้าจนกระทั่งวัยเข้าเรียน (แต่ถ้าสังเกตอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่าเด็กเหล่านี้มีความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์อย่างเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่วัยอนุบาล) ไม่มีอาการแสดงทางร่างกาย ทางบุคลิกภาพ หรือทางพฤติกรรมใดโดยเฉพาะ ที่บ่งบอกถึงความบกพร่องทางสติปัญญายกเว้นกลุ่มอาการที่มีลักษณะพิเศษทางรูปร่างหน้าตา ปรากฏให้เห็น ก็จะทำให้สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือในวัยทารก อาทิ กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) แต่ความผิดปกติเหล่านี้ ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นเด็กในกลุ่มนี้สามารถพัฒนาทักษะด้านสังคม และการสื่อความหมายได้เหมือนเด็กทั่วไป แต่มักมีความบกพร่องด้านประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว สามารถเรียนรู้ได้ (educable) ทักษะทางวิชาการมักเป็นปัญหาสำคัญที่พบในวัยเรียน แต่ก็สามารถเรียนจนจบชั้นประถมปลายได้สามารถฝึกทักษะด้านสังคมและอาชีพ พอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ เป็นแรงงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะฝีมือ หรือกึ่งใช้ฝีมือ แต่อาจต้องการคำแนะนำ และการช่วยเหลือบ้างเมื่อประสบความเครียด
ระดับปานกลาง (Moderate Mental Retardation)     มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 35-50 ในช่วงขวบปีแรก มักจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวปกติ แต่พัฒนาการด้านภาษาและด้านการพูดจะล่าช้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงวัยเตาะแตะ การศึกษาหลังจากระดับชั้นประถมต้น มักไม่ค่อยพัฒนาสามารถฝึกอบรมได้ (trainable) ในทักษะการช่วยเหลือ ดูแลตนเอง เรียนรู้ที่จะเดินทางได้ด้วยตนเองในสถานที่ที่คุ้นเคย และฝึกอาชีพได้บ้าง สามารถทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะฝีมือ แต่ควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
ระดับรุนแรง (Severe Mental Retardation)     มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 20-35 มักจะพบทักษะทางการเคลื่อนไหวล่าช้าอย่างชัดเจน ด้านภาษาพัฒนาเล็กน้อย ทักษะการสื่อความหมายมีเพียงเล็กน้อยหรือไม่มี พอจะฝึกฝนทักษะการดูแลตนเองเบื้องต้นได้บ้างแต่น้อย ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเต็มที่ การทำงานต้องการโปรแกรมในชุมชน หรือการให้ความช่วยเหลือที่พิเศษเป็นการเฉพาะ
ระดับรุนแรงมาก (Profound Mental Retardation)     มีระดับไอคิวต่ำกว่า 20 มีพัฒนาการล่าช้าอย่างชัดเจนในทุกๆด้าน มักมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และฝึกการช่วยเหลือตนเองได้บ้าง มีขีดจำกัดในการเข้าใจและการใช้ภาษาอย่างมาก ต้องการความช่วยเหลือ ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา


@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


นำมาใช้ในงาน

       ในเรื่องของงานจะทำคือบล็อกตัวอักษรและตัวเลขและงานนี้จะช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้หัดผสมคำและเรียนรู้เรื่องสีเรื่องการบวกลบตัวเลขและตัวบล็อกจะทำเป็นสีต่างๆเพื่อให้เด็กไม่เบื่อที่จะเล่นกับมันมากและหัดให้เด็กได้หัดนับตัวเลขแล้วนำมาบวกลบได้เข้าใจมากขึ้น เพราะเด็กที่มีวามบกพร่องทางการเรียนรู้นั้นจะนับตัวเลขและผสมคำไม่ได้ ตัวบล็อกของเล่นนี้จึงทำมาเพื่อให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้หัดการผสมคำหรือนับเลขไปพร้อมกับการเล่นไปในตัวจะทำให้เด็กเข้าใจและช่วยเพิ่มการจำตัวเลขได้มากขึ้นและการผสมคำที่ถูกต้องขึ้นก็เป็นได้

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความพิเศษในงาน

ความพิเศษในงาน แนวคิดหลักในการใช้ทำของเล่นเด็ก

             งานทุกงานถ้าขาดความพิเศษในงานอาจจะขายได้ไม่ดี หรืออาจจะไม่ได้เลยก็เป็นได้ กับงานออกแบบทั่วๆไปอาจมีบางอย่าเหมือนกันแต่ในความเหมือนกันนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไปจากการออกแบบทั่วไปก็คือ ความพิเศษในชิ้นงาน



          ของเล่นเด็กทั้งไปจะเป็นแค่บล็อกไม้ธรรมดา จึงไม่มีความพิเศษอะไรที่โดดเด่นเลย จึงทำให้ไม่เป็นจุดสนใจให้เด็กอยากเล่นมากนัก จึงทำให้มีความคิดที่จะพัฒนาเพิ่มเติมความพิเศษลงไปในบล็อกไม้ให้มีความพิเศษเพิ่มขึ้น โดยจะทำบล็อกไม้ให้มีรูปแบบใหม่จากสี่เหลี่ยมหรือวงกลมธรรมดา เราก็ทำเป็นบล็อกในรถไม้เพื่อเพิ่มความสนุกให้เด็กที่เล่นไม่รู้สึกเบื่อ และใส่สีสันให้ดูสดใสน่าเล่นและเพื่อดึงดูดความสนใจจากเด็กให้สนใจในของเล่นชิ้นนี้ และยังสามารถทำให้เด็กเรียนรู้สีต่างๆจากการที่ได้เล่นของเล่นชิ้นนี้ได้อีกด้วย

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แรงบันดาลใจ




แรงบันดาลใจนี้เกิดขึ้นมาได้เพราะ เคยได้เห็นเด็กพิเศษตามทีวีหรือได้อ่านเจอตามหนังสือแล้วเว็บไซต์ต่างๆ  ทำให้รู้สึกว่าอยากให้เด็กเหล่านั้นได้เล่นได้มีความสุขอย่างเด็กอื่นๆบ้าง จึงคิดที่จะทำเป็นของเล่นจากไม้้ขึ้นมา(บล็อกไม้) เพราะไม้เป็นวัสดุที่เกิดจากธรรมชาติ ไม่มีพิษไพร่่ต่อเด็ก และของเล่นจะต้องมีสีสัน ขนาดต่างๆและรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องสี แล้วรู้จักสังเกตุว่าจะเรียงหรือต่อบล็อกไม้อย่างไร และจะมีสมุดรูปภาพต่างๆ ที่จะสามารถต่อออกมาได้ เพื่อให้เด็กได้รู้และนำไปทำตามได้ แต่เด็กก็สามารถคิดหรือจิตนาการและต่อบล็อกเป็นรูปทรงต่างๆ ขึ้นเองได้

ของเล่น...เล่นเพื่อพัฒนาเด็กพิเศษ

เด็กพิเศษ...สำคัญที่วิธีเล่น


คุณครูสุขจันทร์ สุขประกอบ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กที่ต้องการช่วยเหลือพิเศษโรงเรียนจิตตเมตต์ (ปฐมวัย) และโรงเรียนเพลินพัฒนาบอกว่า แม้ของเล่นของเด็กปกติกับเด็กพิเศษจะเหมือนๆกัน แต่ต่างกันตรงที่ "วิธีการเล่น" ค่ะ ซึ่งเด็กพิเศษแต่ละกลุ่มก็มีความต้องการในการเล่นต่างกัน และความถนัดไม่เหมือนกัน เราจึงต้องดูว่าเด็กพิเศษคนนั้นๆ สนใจอะไร และต้องการความช่วยเหลืออย่างไร

ดังนั้นถ้าจะเลือกของเล่นให้เด็กกลุ่มนี้ ควรเลือกให้ตรงตามความถนัด และความสนใจของเขาเป็นหลัก เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย การใช้มือไม่แข็งแรง การประสานสัมพันธ์ของมือและตา และการเคลื่อนไหวไม่สะดวก จึงควรพิจารณาเลือกใช้ของเล่นที่ใช้วัสดุและขนาดที่ไม่หลุดมือได้ง่าย
เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาในระดับหนัก ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว อาจจะชอบหรือสนใจเสียงดนตรี จึงควรเลือกใช้กล่องเพลง หรือของเล่นที่มีเสียงกระตุ้นเร้าความสนใจให้เด็กมีการตอบสนอง ส่วนเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นก็ต้องการของเล่นที่มีเสียงเช่นเดียวกัน

ครูสุขจันทร์เล่าว่า ของเล่นสำหรับเด็กพิเศษสามารถเป็นของเล่นที่เราประดิษฐ์ขึ้นเองก็ได้ หรือของเล่นตามธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน ดิน ทราย ใบไม้ หรือของเล่นที่ซื้อหาได้ตามท้องตลาด ทั้งนี้อาศัยแค่เพียงความเข้าใจและใช้เทคนิควิธีการสอน ด้วยการใช้ของเล่นเป็นสื่อการสอนสำหรับเด็กพิเศษแต่ละคนให้เหมาะสมเท่านั้น

"สมมติว่าเด็กคนหนึ่งกล้ามเนื้อมือเขาไม่ค่อยแข็งแรง ตรงนี้เราต้องมาดูว่าของเล่นอะไรบ้างที่จะช่วยฝึกเรื่องกล้ามเนื้อมือให้เขา พอคิดขึ้นได้ว่ามีพวกดินเหนียว แป้งโดว์ ทราย ฯลฯ เราก็มานึกต่อว่าแล้วจะทำอย่างไรให้เด็กคนนั้นเกิดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ดังนั้นเราอาจจะเอาของเล่น เช่น เรือลำเล็กๆ ของเล่นที่เป็นไม้ หรือพลาสติกมาลอยน้ำแล้วให้เขาลองหยิบของเล่นที่ลอยน้ำนั้นขึ้นมาดู เขาจะรู้สึกสนุกที่จะเรียนรู้ และจะได้รับการฝึกเรื่องกล้ามเนื้อมือไปด้วยในตัว
นอกจากจะนำของเล่นมาลอยน้ำแล้ว เรายังสามารถนำของเล่นชิ้นดังกล่าวไปลองใส่ลงในทราย หรือข้าวสารที่ใส่อยู่ในกะละมัง ต่อจากนั้นให้เด็กใช้มือควานหาของเล่น เขาจะรู้สึกสนุกที่จะหา เกิดการเรียนรู้เรื่องผิวสัมผัส และยังได้ฝึกกล้ามเนื้อมือไปด้วยในตัว ฉะนั้นของเล่นจะเป็นอะไรก็ได้ขอเพียงแต่เราต้องรู้เสียก่อนว่าเขามีความบกพร่องในด้านใด แล้วเราต้องการพัฒนาทักษะด้านใด และที่สำคัญจะต้องให้เขาเรียนรู้อย่างมีความสุข"

เด็กที่มีพัฒนาการเป็นปกติ เมื่อเห็นของเล่นก็จะหยิบมาเล่นอย่างมีจินตนาการ หรือเล่นบทบาทสมมติได้ตามวัย แต่สำหรับเด็กออทิสติกนั้นมีความผิดปกติทางพัฒนาการในด้านสังคม ภาษา และการสื่อสาร มีความผิดปกติทางด้านการเล่น และจินตนาการ เช่น ไม่มีจินตนาการในการเล่น เล่นสมมติไม่เป็น ไม่สามารถแยกแยะระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องสมมติ ชอบเล่นคนเดียว ไม่ชอบเข้ากลุ่ม เขาอาจจะเล่นของเล่นที่แตกต่างไปจากเด็กอื่นๆ เช่น หยิบของเล่นมาส่องดู จ้องมองนานๆ หยิบของเล่นหมุนไปหมุนมา ครูจึงต้องชักชวนหรือสอนให้เล่นของเล่นเป็น

ส่วนเด็กที่มีสมาธิสั้นก็อาจจะเล่นของเล่นแต่ละอย่างได้ไม่นาน วิ่งไปหยิบจับสิ่งของต่างๆรอบตัวตลอดเวลาจึงไม่สามารถเล่น หรือทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้สำเร็จได้ ดังนั้นการนำของเล่นอย่างการร้อยลูกปัด การต่อจิ๊กซอว์ การปั้นดิน การเล่นทราย เล่นน้ำ ฯลฯ จะช่วยฝึกเรื่องสมาธิให้เขาได้ เขาจะเริ่มจดจ่ออยู่กับของเล่นที่ชอบและสนใจได้นานมากขึ้น และเมื่อเขาทำได้สำเร็จ อย่าลืมให้คำชมเชยหรือการกอด เพื่อจะช่วยเป็นกำลังใจและรางวัลที่ดีให้เขาได้ทางหนึ่ง
"จากประสบการณ์การสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา ตั้งแต่เล็กจนถึงปัจจุบันได้ใช้ของเล่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ของเล่นจากธรรมชาติ หรือของเล่นที่ซื้อหาได้ตามท้องตลาด เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนในการฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมพัฒนาการ ขณะนี้เขาสามารถวาดรูปได้สวยมาก อ่านออกเขียนได้ และพูดสื่อสารได้

มิติของของเล่นชิ้นหนึ่งๆ มิได้มีเพียงจุดประสงค์เดียวเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ไม้บล็อก เราสามารถนำมาเล่นเพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือ หรือฝึกเรื่องสี เรื่องขนาด และจำนวนก็ได้ สมมติว่าลูกของเราสนใจที่จะต่อไม้บล็อก เราสามารถชักชวนให้ต่อไม้บล็อกเป็นรูปทรงต่างๆ ซึ่งอาจจะชวนให้วาดรูปไม้บล็อกที่ต่อแล้วนั้น หรือเอาไม้บล็อกมาสอนเรื่องสี ขนาด รูปทรง หรือถ้วยเรียงลำดับขนาดต่างๆ ดังนั้นเราสามารถให้ลูก ตัก ตวง เทข้าวสาร น้ำ ทราย หรือจับคู่สี ขนาดของถ้วยน้ำ ซึ่งการเล่นที่หลากหลายแบบนี้เป็นการขยายความคิด ให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นด้วย"

PLAY THERAPY


Play Therapy หรือการบำบัดจิตด้วยการเล่น ถือเป็นการรับรู้ความในใจของเด็กผ่านการที่ให้เขาได้เล่น ซึ่งเด็กทุกคนที่มีเรื่องราวค้างคาในใจโดยเฉพาะเรื่องขุ่นข้องหมองใจ เช่น รู้สึกถูกทอดทิ้ง หรือถูกทำร้ายทางร่างกายมา ฯลฯ ทั้งหมดจะเปิดเผยออกมาขณะที่เขากำลังเล่นอยู่
ถ้าเราไปถามว่าลูกรู้สึกคับข้องใจอะไร บางครั้งเด็กในวัยเล็กๆ จะไม่สามารถอธิบายความกังวลนี้ออกมาเป็นคำพูดได้เหมือนผู้ใหญ่ ผศ.พญ.สุวรรณี พุทธิศรี จิตแพทย์เด็กประจำรพ.รามาธิบดี ให้คำแนะนำว่า การปล่อยให้เด็กได้เล่น เช่น วาดรูป หรือเล่นตุ๊กตา หรือเล่นของเล่นทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการใช้จินตนาการ เช่น หุ่นมือ บ้านตุ๊กตา บทบาทสมมติ กะบะทราย ฯลฯ จะช่วยบอกความในใจได้ว่าตอนนี้เขารู้สึกอะไรอยู่

* ด้านร่างกาย การที่ลูกได้ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน ได้กระโดดโลดเต้น หรือปีนป่ายต้นไม้ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยเรื่องกล้ามเนื้อขาให้แข็งแรงและช่วยเรื่องการทรงตัว นอกจากนั้นยังช่วยเรื่องการทำงานประสานกัน ระหว่างกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ด้วย เช่น กล้ามเนื้อแขน ขา มือ และการประสานการทำงานระหว่างมือและตา เช่น ปั้นแป้งโดว์ พับกระดาษ เพ้นท์สี เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ข้อมูลเพิ่มเติม


ความหมายของ ของเล่น

ของเล่น จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง สภาพแวดล้อมหนึ่ง ที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สื่อและของเล่นแต่ละประเภท มีส่วนในการพัฒนาเด็กแตกต่างกันไป การเลือกใช้และผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งครู จะมีบทบาทในการพิจารณาให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก และตรงตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการนำสื่อและของเล่นมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น การผลิตสื่อและของเล่น สำหรับเด็กปฐมวัย จึงควรคำนึงถึงหลักการผลิต การเลือกใช้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน

      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 กล่าวว่า ของเล่นหมายถึง ของสำหรับเด็กเล่นเพื่อให้สนุกหรือเพลิดเพลิน

     ฉวีวรรณ จึงเจริญ ให้ความหมายของคำว่า ของเล่น ว่าหมายถึง สิ่งของหรือวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาให้เด็กเล่น บางทีก็เรียกว่า เครื่องเล่น อาจรวมถึงอุปกรณ์ดนตรี อุปกรณ์พลานามัยและอื่นๆ ซึ่งของเล่น จะเป็นสื่อให้รู้จัก ได้ใช้ ได้จัดกระทำ หรือประดิษฐ์สร้างสรรค์ตามจินตนาการของเด็ก

      ลัดดาวัลย์ กัณหสุวรรณ อธิบายคำว่า ของเล่น หมายถึง วัตถุใดๆ ที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่ผู้เล่น

      ณัฐหทัย วาระทรัพย์ อธิบายความหมายของคำว่า ของเล่น หมายถึง วัตถุใดๆ ที่นำมาให้เด็กเล่น แล้วสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับผู้เล่น เป็นสื่อนำเด็กไปสู่กระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก

      จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า ของเล่นเป็นสื่อที่เด็กใช้ประกอบในการแสดงออกทางพฤติกรรมที่บางครั้งสามารถอธิบายความคิด ความคับข้องใจของเด็ก ทำให้ผู้ใหญ่หรือผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายเข้าใจ และจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็ก

ที่มา : http://srdtoy.gagto.com/?cid=414851

ประโยชน์ของของเล่น



ของเล่นสำหรับเด็กมีจุดประสงค์สร้างหรือผลิตขึ้นมาเพื่อให้เด็กได้เล่น ของเล่นสำหรับเด็ก เด็กเล่นแล้วต้องถูกใจ สนุก เป็นความสุข เป็นสมาธิ แบ่งปันกันเพื่อส่งเสริมการสร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์ และมีผลต่อกระบวนการการคิดสร้างสรรค์


ผู้ใหญ่ทำของเล่นให้เด็กเล่น เป็นอีกบริบทหนึ่งที่ทำให้เกิดชั้นของความอบอุ่นในระบบครอบครัวไทย ทำให้เด็กอบอุ่น ภูมิใจ ประทับใจและจดจำความงดงามให้เป็นความรู้สึกดีๆ แบบลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

ของเล่นมีส่วนต่อการพัฒนาทางกายภาพสำหรับเด็ก ถ้าของเล่นมีคุณสมบัติเหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการพัฒนาการด้านการหยิบจับ การแยกกลุ่ม การผสม และการจัดกลุ่มของเล่น

ของเล่นพัฒนากล้ามเนื้อมัดต่างๆ ของร่างกายตามลักษณะเฉพาะของของเล่น

ของเล่นมีส่วนช่วยในการพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม การแบ่งปัน และมนุษยสัมพันธ์

ของเล่นส่งเสริมสมาธิในการจดจ่อต่อการเล่น ทำให้นิ่งและเกิดสมาธิ

ของเล่นส่งผลต่อการพัฒนาด้านสติปัญญา และต่อยอดส่งผลต้นคิดและจินตนาการ


เรื่องของการคิดและจินตนาการนี่ ผมขอขยายผล ในปี ค.ศ.1950 มีของเล่นที่ผลิตจากโรงงานผลิตของเล่นในประเทศญี่ปุ่น ผลิตยานอวกาศออกมาจำหน่ายหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เด็กได้เล่น ต่อมาปี ค.ศ.1968 ประเทศสหรัฐอเมริกา สร้างยานอวกาศ  อพอลโล ไปลงดวงจันทร์ โดยมีนักบินอวกาศออกไปนอกโลกด้วย ทำให้เราฉุกคิดได้เลยว่า ของเล่นเป็นสิ่งนำร่องสำหรับเด็ก เพื่อคิดขยายผลสู่ความเป็นจริง ซึ่งเป็นไปได้ในทุกๆ ด้าน และทุกสาขา

ที่มา : http://www.motherandcare.in.th/index.php?mode=content&id_run=6&mian=31&id=420&CurrentPage=



ประเภทของ ของเล่น


เราสามารถแบ่งประเภทของของเล่นตามประโยชน์ของมันได้ดังต่อไปนี้ค่ะ
1.ของเล่นที่ส่งเสริมด้านภาษาได้แก่ ของเล่นที่เกี่ยวกับภาพ ตัวหนังสือ คำ เรื่องราว และการสนทนาซักถาม เช่น หนังสือภาพ หนังสือนิทาน เพลง เทปเพลง เทปนิทาน ฯลฯ
2.ของเล่นที่ส่งเสริมด้านคณิตศาสตร์ได้แก่ ของเล่นที่ฝึกการนับจำนวน รู้จักนับเลข รู้จักการรวมและการแยกสิ่งของ ขนาด ระยะ จำนวน เช่น รูปเลขาคณิต ภาพเรียงลำดับขนาด โดมิโนจุด ฯลฯ
3.ของเล่นที่ให้รู้จักสิ่งต่างๆ และฝึกการสังเกตเปรียบเทียบได้แก่ ของเล่นที่เกี่ยวกับการเปรียบเทียบสี รูปร่างลักษณะของสิ่งของต่างๆ เช่น ภาพตัดต่อ โดมิโนสี โดมิโนภาพ การพับกระดาษ ฯลฯ
4.ของเล่นที่ฝึกประสาทตาและมือให้ทำงานสัมพันธ์กันได้แก่ ของเล่นที่ให้เด็กได้ ตอก ต่อ หยอด กด ร้อย ปัก เย็บ ผูก เกี่ยว รูด เช่น กระดานฆ้อนตอก ร้อยเชือกตามรู ร้อยลูกปัดเม็ดโตๆ สานใบมะพร้าว ใบตาลเป็นรูปต่างๆ ฯลฯ
5.ของเล่นที่ทำให้กล้ามเนื้อเล็กกล้ามเนื้อใหญ่แข็งแรงทำให้เด็กได้ออกกำลังนิ้ว มือ แขน ขา ลำตัว ด้วยการเล่น กำ บีบ เขย่า เคาะ ตี ดึง ลาก จูง ไถ ผลัก เลื่อน เช่น เล่นปั้นดิน ขุดทราย เล่นลูกบอล ชิงช้า ไม้ลื่น เขย่าเครื่องดนตรี ตีกลอง ฯลฯ
6.ของเล่นที่ให้เล่นเลียนแบบและสมมุติตามจินตนาการเพื่อพัฒนาการรับรู้ ความคิดฝัน และเลียนแบบจากของจริง เช่น เล่นตุ๊กตา เล่นขายของ เล่นเป็นพ่อแม่ ครู หมอ ตำรวจ ทหาร ชาวนาฯลฯ
7.ของเล่นที่ให้เล่นสร้างและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เด็กสร้างสิ่งต่างๆ ตามโครงสร้างที่กำหนดไห้ และใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น เล่นต่อไม้บล็อค สร้างบ้าน เล่นปั้น เล่นวาดภาพ ระบายสี ฯลฯ
8. ของเล่นที่ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างกลไกของของเล่นส่งเสริมความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ เช่น เล่นกังหันหรือใบพัดหมุน เล่นรถไขลาน รถใช้แบตเตอรี่ ฯลฯ
9. ของเล่นที่ฝึกแก้ปัญหาช่วยให้เด็กแก้ปัญหาได้กล้าแสดงออก และคิดได้รวดเร็วคล่องแคล่ว เช่น เล่นทายปริศนาหรือปัญหาอะไรเอ่ย ของเล่นหาทางออก ฯลฯได้รู้จักของเล่นแต่ละประเภทกันแล้ว แต่อย่าลืมว่าการเล่นจะมีประโยชน์ และปลอดภัยได้ ก็ควรจะมีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำหรือดูแลอยู่ใกล้ๆ ก็จะดีนะคะ เพราะนอกจากจะทำให้เด็กอุ่นใจแล้ว ยังช่วยให้เด็กได้ใช้ความสามารถ อย่างเต็มที่ด้วยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



ข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ประเภทนักศึกษา

ส่วน ก : ลักษณะทั่วไปของโครงการวิจัย
1. ปีการศึกษาที่เสนอขอรับทุน......2555............
2. ประเภทการวิจัย
                (  ) การวิจัยสำรวจ               (  )  การวิจัยทดลอง           ( /) การวิจัยและพัฒนา
                (  ) การวิจัยสถาบัน             (  ) การวิจัยในชั้นเรียน      (  ) การวิจัยสิ่งประดิษฐ์
3. งบประมาณที่เสนอขอทุน.......5000...............บาท
4. ระยะเวลาในการทำวิจัย  6 เดือน

ส่วน ข : รายละเอียดการทำวิจัย
1. ชื่อโครงการวิจัย ของเล่นสำหรับฝึกพัฒนาการเด็กอายุ 3-6ขวบ : สำหรับเด็กบ้านเฟื่องฟ้า
2. ชื่อผู้วิจัย/คณะผู้วิจัย...นางสาวตรีชดา โหมดตาด.................................................................
3. ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
ของเล่นฝึกพัฒนานการของเด็กมีหลากหลายรูปแบบท่ามกลางผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของเล่นเพื่อฝึกพัฒนาการเด็กนั้นมีหลายรูปแบบ แต่สำหรับเด็กพิเศษนั้นเราตองดูว่าตัวเด็กเหล่านั้นต้องการสิ่งไหน มีความบกพร่องในด้านใด ทางร่างกายสติปัญญา และอารมณ์ จำเป็นต้องได้รับการ กระตุ้น ช่วยเหลือหรือบำบัด ฟื้นฟูและให้การเรียนการสอนที่เหมาะ กับลักษณะ และความต้องการของเด็ก คำว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Children with special needs เป็น คำใหม่ และเพิ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา
การออกแบบงานของเล่นเด็กชิ้นนี้เป็นงานที่ออกแบบเพื่อกลุ่มเด็กที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อที่เราจะเสริมให้พัฒนาการของเด็กเหล่านั้นมีอาการที่ดีขึ้น
ปัจจุบันผู้คู่แข่งในการออกแบบทางการตลาดมีอยู่มากมายดังนั้นเราจึงต้องหาความแตกต่างทางการตัวผลิตภัณฑ์ที่จะออกมาภาพลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าคนอื่นเพื่อเป็นที่สะดุดตาและน่าจดจำแก่เด็กที่พบเห็น โดยการใช้ชุดสีแบบหลักการใช้สีประกอบรวมแบบวรรณะ(TONE) โดยจะเน้นให้เกิดความกลมกลืนด้วยสีต่างวรรณะจะไม่ใช้สีเพิ่งวรรณะใดวรรณะหนึ่งโดดเดี่ยว โดยจะกำหนดอัตราการใช้สีให้เกิดการตัดกันมากน้อยไว้ การออกจะได้ดูดึงดูดสายตาจากเด็กได้
4. วัตถุประสงค์การวิจัย
      4.1 เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบ ของเล่นสำหรับฝึกพัฒนาการของเด็กอายุ 3-6ขวบ : สำหรับบ้านเฟื่องฟ้า
      4.2 เพื่อผลิตต้นแบบเหมืนจริง (PROTOTYPE)  ของเล่นสำหรับฝึกพัฒนาการของเด็กอายุ 3-6ขวบ : สำหรับบ้านเฟื่องฟ้า
5. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
6. นิยามศัพท์เฉพาะ
ของเล่น หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบและทำขึ้นมาเพื่อให้เด็กเล่น ของเล่นเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กทุกระดับเพื่อเป็นการพัฒนา พัฒนาของเด็กในวัยต่าง ๆปัจจุบันวิวัฒนาการของ ของเล่นเด็กได้เจริญก้าวหน้าไปมาก ไม่ว่าจะเป็นการผลิตของเล่นที่เป็นรูปเหมือนต่างๆ เช่น ตุ๊กตา หรือของเล่นที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ของเล่นพื้นบ้านไทยที่มีคุณค่าได้ถูกลืมไปอย่างน่าเสียดาย เช่น ป๋องแป๋ง จักจั่น ปืนก้านกล้วย ลูกข่าง ล้อหลอดด้าย อีโป๊ะ เดินกะลา ม้าก้านกล้วย หลายคนเมื่อได้ยินชื่อของเล่นพื้นบ้านเหล่านี้ ทำให้หวนนึกถึงอดีตที่คุณปู่ คุณย่าเคยทำให้เล่นอย่างสนุกสนานเมื่อวัยเด็ก เด็กสมัยนี้อาจนึกไม่ออกว่าของเล่นเหล่านี้ หน้าตาเป็นอย่างไร เล่นอย่างไร เพราะของเล่นทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม มีลักษณะเหมือนกันหมด เล่นกันช่วงระยะเวลาสั้นๆ ตามกระแสโฆษณา หรือลด แลก แจก แถมมากับสินค้าอื่นๆของเล่นพื้นบ้านเน้นวัสดุที่ทำจากธรรมชาติ และการเล่นมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่สำคัญคือสายใยของครอบครัว ที่ต้องช่วยกันหาวัสดุ ช่วยกันประดิษฐ์และเล่นร่วมกัน ผู้ใหญ่คอยแนะนำการเล่น การช่วยป้องกันอันตราย และสอดแทรกการสอนมารยาทการเล่น ทำให้เด็กมีความรัก ความอบอุ่น ต่างจากของเล่นสมัยใหม่ที่เน้นความรุนแรง ต่อสู้แข่งขันที่สำคัญผู้ปกครองไม่มีส่วนร่วมในการเล่นของเด็ก
การออกแบบ หมายถึง การเลือกสรรส่วนประกอบต่างๆทางด้านศิลปะมาจัดเป็นรูปแบบต่างๆขึ้นรวมถึงแนวความคิดของศิลปินในการจัดองค์ประกอบศิลป์ เช่นการจัดทิศทาง ขนาด รูปร่างของเส้น มุม และรูปทรงต่างๆ โดยเราต้องคำนึงถึงการจัดวาง ความสมดุลสิ่งเหล่านี้ที่เป็นส่วยประกอบของการออกแบบ
7. ขอบเขตการวิจัย
6.1 แบบร่าง(IDEA SKETCH)
6.2 แบบที่ทำการสรุป(CONCEPT SKETCH)
6.3 แบบเพื่อนำไปผลิต(WORKING DRAWING หรือ ART WORK)
6.4 ต้นแบบเหมือนจริง(PROTOTYPE)
6.5 รายงานการวิจัยจำนวน 3 ฉบับ
6.6 ซีดีรายงานการวิจัยจำนวน 1 ชุด


8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
7.1 กระบวนการออกแบบของเล่นสำหรับฝึกพัฒนาการเด็กอายุ 3-6ขวบ : สำหรับเด็กบ้านเฟื่องฟ้า
7.2 ต้นแบบเหมือนจริงของของเล่นสำหรับฝึกพัฒนาการเด็กอายุ 3-6ขวบ : สำหรับเด็กบ้านเฟื่องฟ้า
9. การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารอ้างอิง
ในการวิจัยเรื่องการออกแบบของเล่นสำหรับฝึกพัฒนาการเด็กอายุ 3-6ขวบ : สำหรับเด็กบ้านเฟื่องฟ้า ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ตรงตามConcept ที่กำหนดไว้และเป็นงานที่ถูกต้องตามหลักทฤษฎีของสีและการจัดองค์ประกอบต่างๆ ผู้ศึกษาจึงใช้หลักการที่เกี่ยวข้องดังนี้
10. ระเบียบวิธีวิจัย
                ประชากร
กลุ่มผู้บริโภคennaratin จำนวน 200คน ของเล่นสำหรับฝึกพัฒนาการเด็กอายุ 3-6ขวบ : สำหรับเด็กบ้านเฟื่องฟ้า      ตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง
............................................................................................................................................................
                การออกแบบการทดลอง (ถ้าเป็นการวิจัยทดลอง)
............................................................................................................................................................
                ขั้นตอนการพัฒนา (ถ้าเป็นการวิจัยและพัฒนา)
............................................................................................................................................................
                เครื่องมือการพัฒนา การสร้างและการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือการวิจัย
แบบสอบถามความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์
แบบสัมภาษณ์
                การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
- วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) จากร้อยละ11. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ
11. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ
กิจกรรม
..
55
..
55
..
56
..
56
หมายเหตุ
1.การวางแผนก่อนการผลิต
ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล
แบบร่าง
สรุปแบบ
2.กระบวนการผลิต
สรุปแบบ
3.กระบวนการหลังการผลิต
ทดสอบสมมติฐาน
วิเคราะห์ข้อมูล
แปรผล
เรียบเรียงรายงานการวิจัย
12. รายละเอียดงบประมาณ
                หมวดค่าตอบแทน
............................................................................................................................................................
                หมวดค่าใช้สอย
ลำดับ
รายการ
ราคาต่อ
หน่วย
จำนวน
รวมเงิน
หมายเหตุ
1.
ค่าจ้างพิมพ์
10 บาท
200 แผ่น
2,000 บาท
2.
ค่าจ้างปริ้นสี
บาท
200 แผ่น
1,000 บาท
รวมเป็นเงิน
(…สามพันบาทถ้วน...)
3,000 บาท
                หมวดค่าวัสดุ
ลำดับ
รายการ
ราคาต่อ
หน่วย
จำนวน
รวมเงิน
หมายเหตุ
1.
ของเล่นสำหรับฝึกพัฒนาการเด็กอายุ 3-6
ขวบ : สำหรับเด็กบ้านเฟื่องฟ้า
ไม้เนื้อแข็ง
สี
เลกเกอร์เคลือบเงา (แบบใส)
- แปลงทาสี

500 บาท
100 บาท
100 บาท
50 บาท


แผ่น
กระป๋อง
กระป๋อง
ด้าม


1,500 บาท
300 บาท
100 บาท
100 บาท
รวมเป็นเงิน
(...สองพันบาทถ้วน...)
2,000 บาท
รวมงบประมาณทั้งสิ้นเป็นเงิน... 5,000… บาท
(...ห้าพันบาทถ้วน...)
                                                                                                                                      ลงชื่อ.....................................................     
              ( นางสาวตรีชดา โหมดตาด )
                                                                                                                                                            ผู้ขอทุนวิจัย
                                                                                                                                                          ......../........./..........



ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ-สกุล นางสาวตรีชดา โหมดตาด
Ms.TREECHADA HMODTAD
รหัสประจำตัว 531131....
ที่อยู่ปัจจุบัน
-

หมายเลขโทรศัพท์มือถือ -
หมายเลขโทรศัพท์ที่พักอาศัย -

ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดลำกะดาน
มัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
กำลังศึกษาชั้นปีที่ สาขาวิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


                                                           …………………………………
                                                                             ( นางสาวตรีชดา โหมดตาด )
                                                                            ผู้วิจัย
                                                                                                                                    วันที่......./เดือน..../..........